ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
ปิฏฐิทุกะ
[๙๗๐] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สภาว- *ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย โทมนัสสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณก็มี.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๔.

ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ. [๙๗๑] ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสส- *เวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี ที่เป็นธรรม อันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณก็มี. ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทสัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอัน มรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ. [๙๗๒] ธรรมมีสัมปยุตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา เว้นโมหะที่ บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค ประหาณ. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสส- *เวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณก็มี. ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณ เป็นไฉน? โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากใน ภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตต- *เหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณ. [๙๗๓] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่บังเกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้เสีย สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๕.

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี ที่เป็น ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี. ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคต ด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ. [๙๗๔] ธรรมมีวิตก เป็นไฉน? กามาวจรกุศล, อกุศล, จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๒ ดวง ฝ่ายกิริยา ๑๑ ดวง, รูปาวจรปฐมฌานฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบากและกิริยา, โลกุตตรปฐมฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, เว้นวิตกที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิตก. ธรรมไม่มีวิตก เป็นไฉน? ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ ฝ่าย ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และ ฝ่ายกิริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, วิตก, รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตก. [๙๗๕] ธรรมมีวิจาร เป็นไฉน? กามาวจรกุศล, อกุศล, จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๒ ดวง ฝ่ายกิริยา ๑๑ ดวง, ฌาน ๑ และ ๒ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และกิริยา, ฌาน ๑-๒ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, เว้นวิจารที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิจาร. ธรรมไม่มีวิจาร เป็นไฉน? ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ ฝ่าย, ฌาน ๓ และ ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และ ฝ่ายกิริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๓ และ ๓ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, วิจาร, รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิจาร.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๖.

[๙๗๖] ธรรมมีปีติ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๕ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๒ และ ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๒ และ ๓ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, เว้นปีติที่ เกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีปีติ. ธรรมไม่มีปีติ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๘ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๗ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง, ฌาน ๒ และ ๒ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๒ และ ๒ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, ปีติ, รูป และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปีติ. [๙๗๗] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๕ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๒ และ ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๒ และ ๓ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก เว้นปีติที่ บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ. ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๘ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๗ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง, ฌาน ๒ และ ๒ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, และฝ่ายกิริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, และฝ่ายกิริยา ฌาน ๒ และ ๒ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก ปีติ, รูป และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ. [๙๗๘] ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, เว้น สุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๗.

ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๘ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๗ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง, รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, โลกุตตร- *จตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก สุขเวทนา, รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา. [๙๗๙] ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง, รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, โลกุตตร- *จตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, เว้นอุเบกขาเวทนา ที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา. ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๑ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, อุเบกขาเวทนา, รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคต ด้วยอุเบกขาเวทนา. [๙๘๐] กามาวจรธรรม เป็นไฉน? กามาวจรกุศล อกุศล วิบากแห่งกามาวจรทั้งหมด กามาวจรกิริยา อัพยากฤต และ รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กามาวจรธรรม. ธรรมไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน? รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นกามาวจร. [๙๘๑] รูปาวจรธรรม เป็นไฉน? ฌาน ๔ และ ๕ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า รูปาวจรธรรม.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๘.

ธรรมไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน? กามาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นรูปาวจร. [๙๘๒] อรูปาวจรธรรม เป็นไฉน? อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปาวจรธรรม. ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน? กามาวจร รูปาวจร โลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร. [๙๘๓] ปริยาปันนธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ปริยาปันนธรรม. อปริยาปันนธรรม เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อปริยาปันนธรรม. [๙๘๔] นิยยานิกธรรม เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นิยยานิกธรรม. อนิยยานิกธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนิยยานิกธรรม. [๙๘๕] นิยตธรรม เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นนิยตธรรมก็มี ที่เป็นอนิยตธรรมก็มี มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นิยตธรรม. อนิยตธรรม เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนิยตธรรม.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓๙.

[๙๘๖] สอุตตรธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สอุตตรธรรม. อนุตตรธรรม เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนุตตรธรรม. [๙๘๗] สรณธรรม เป็นไฉน? อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สรณธรรม. อรณธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า อรณธรรม.
ธรรมสังคณีปกรณ์ จบ
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๘๓๘๘-๘๕๓๗ หน้าที่ ๓๓๓-๓๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=8388&Z=8537&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=34&item=970&items=18&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=34&item=970&items=18&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=970&items=18&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=34&item=970&items=18&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=970              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_34

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :