ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
             [๗๔๙] ในบทเหล่านั้น อุเบกขา เป็นไฉน
             การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเบกขาเจโต-
*วิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา
             จิต เป็นไฉน
             จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต
             จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยอุเบกขานี้ ด้วยเหตุนั้น
จึงเรียกว่า อุเบกขาจิต
             คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ ทิศบูรพา หรือทิศปัศจิม หรือทิศอุดร หรือ
ทิศทักษิณ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ หรือทิศเบื้องขวาง หรือทิศต่างๆ
             บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป
             บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึง
เรียกว่า อยู่
             คำว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น มีอธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ก็ฉันนั้น
ทิศที่ ๓ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๔ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องสูงก็ฉันนั้น ทิศเบื้องต่ำก็ฉันนั้น
ทิศเบื้องขวางก็ฉันนั้น ทิศต่างๆ ก็ฉันนั้น
             คำว่า สัตวโลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
มีอธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า นั้น
เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั่วทั้งหมดไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้
             คำว่า อุเบกขาจิต มีอธิบายว่า อุเบกขา เป็นไฉน
             การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเบกขา-
*เจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา
             จิต เป็นไฉน
             จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่าจิต
             จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยอุเบกขานี้ ด้วยเหตุนั้น
จึงเรียกว่า อุเบกขาจิต
             บทว่า ไพบูลย์ มีอธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
             บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป
             บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
สุตตันตภาชนีย์ จบ


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๙๑๑๑-๙๑๔๒ หน้าที่ ๓๙๔-๓๙๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=9111&Z=9142&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=35&item=749&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=35&item=749&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=749&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=35&item=749&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=749              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :