ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
             [๙๖๒] คันถะ ๔ เป็นไฉน
             อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ สีลัพพตปรามาสกายคันถะ อิทัง-
*สัจจาภินิเวสกายคันถะ
             บรรดาคันถะ ๔ นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน
             ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความเพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์สมบัติ
ของผู้อื่น อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่าอภิชฌากายคันถะ
             พยาปาทกายคันถะ เป็นไฉน
             ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เราแล้ว
ฯลฯ ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า
พยาปาทกายคันถะ
             สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นไฉน
สมณพราหมณ์ภายนอกศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ ย่อมมีได้ด้วยศีล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๕๑.

ด้วยวัตร ด้วยศีลและวัตร ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอา โดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสกายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน ความเห็นว่าโลกเที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นไม่จริง ความเห็นว่า โลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นไม่จริง ฯลฯ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วจะเกิดอีกก็หามิได้ จะไม่เกิดอีกก็หามิได้ นี้แหละจริง อย่างอื่น ไม่จริง ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มี ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ยกเว้นสีลัพพตปรามาส- *กายคันถะ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เหล่านี้เรียกว่า คันถะ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๒๘๐๙-๑๒๘๓๐ หน้าที่ ๕๕๐-๕๕๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=12809&Z=12830&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=35&item=962&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=35&item=962&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=962&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=35&item=962&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=962              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :