ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
เรื่องช้างใหญ่ปาริไลยกะ
[๒๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปในที่สงัดทรงหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตก แห่งพระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราวุ่นด้วยภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น อยู่ไม่สำราญเลย เดี๋ยวนี้ เราว่างเว้นจากภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ที่ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น อยู่คนเดียว ไม่มีเพื่อน เป็นสุขสำราญดี

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๗.

แม้ช้างใหญ่เชือกหนึ่งก็ยุ่งอยู่ด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ ลูกช้างเล็ก ได้กิน แต่หญ้ายอดด้วน ส่วนกิ่งไม้ที่พระยาช้างนั้นหักลงมากองไว้ ช้างเหล่านั้นก็กินหมด ได้ดื่มแต่ น้ำขุ่นๆ เมื่อพระยาช้างนั้นลงและขึ้นจากท่า ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป ต่อมาพระยาช้างนั้น ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เรายุ่งอยู่ด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ ลูกช้างเล็ก ได้กินแต่ หญ้ายอดด้วน ส่วนกิ่งไม้ที่เราหักลงมากองไว้ช้างเหล่านั้นก็กินหมด ได้ดื่มแต่น้ำขุ่นๆ เมื่อเรา ลงและขึ้นจากท่า ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป ไฉนหนอ เราพึงหลีกออกจากโขลงอยู่แต่ผู้เดียว ครั้นแล้วได้หลีกออกจากโขลงเดินไปทางบ้านปาริไลยกะไพรสณฑ์รักขิตวันควงไม้รังใหญ่ เข้าไป หาพระผู้มีพระภาค แล้วใช้งวงตักน้ำฉันน้ำใช้เข้าไปตั้งไว้เพื่อพระผู้มีพระภาค และปราบสถานที่ ให้ปราศจากของเขียวสด ครั้นกาลต่อมา พระยาช้างนั้นได้คำนึงว่า เมื่อก่อนเรายุ่งด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ ลูกช้างเล็ก อยู่ไม่ผาสุกเลย ได้กินแต่หญ้ายอดด้วน ส่วนกิ่งไม้ที่เราหัก ลงมากองไว้ ช้างเหล่านั้นก็กินหมด ได้ดื่มแต่น้ำขุ่นๆ เมื่อเราลงและขึ้นจากท่า ช้างพังก็เดิน เสียดสีกายไป เดี๋ยวนี้ เราว่างเว้นจากช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ ลูกช้างเล็ก อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน เป็นสุขสำราญดี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความเงียบสงัดของพระองค์ และทรงทราบความ ปริวิตกแห่งจิตของพระยาช้างนั้นด้วยพระทัย จึงทรงเปล่งอุทานนี้ขึ้นในเวลานั้น ว่าดังนี้:- จิตของพระยาช้างผู้มีงางามดุจงอนรถนั้นเสมอด้วยจิตของ ท่านผู้ประเสริฐ เพราะเป็นผู้เดียวยินดีในป่าเหมือนกัน.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๖๔๖๕-๖๔๘๗ หน้าที่ ๒๖๖-๒๖๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=6465&Z=6487&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=249&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=249&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=249&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=5&item=249&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=249              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_5

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :