ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
             [๘๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านสีหเสนาบดี ได้กราบทูลคำนี้แด่
พระผู้มีพระภาคว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า
พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ
ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้
ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรด
ทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
             ภ. ดูกรสีหะ เธอจงทำการที่ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ เพราะการใคร่ครวญเสียก่อน
แล้วทำ เป็นความดีสำหรับคนมีชื่อเสียงเช่นเธอ.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๓.

สี. พระพุทธเจ้าข้า โดยพระพุทธดำรัสแม้นี้ ข้าพระพุทธเจ้ายินดี พอใจยิ่งกว่าคาด หมายไว้ เพราะพระองค์ตรัสอย่างนี้กะข้าพระพุทธเจ้าว่า ดูกรสีหะ เธอจงทำการที่ใคร่ครวญ เสียก่อนแล้วทำ เพราะการใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำเป็นความดีสำหรับคนมีชื่อเสียงเช่นเธอ ความจริง พวกอัญญเดียรถีย์ได้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก พึงยกธงเที่ยวประกาศทั่วพระนครเวสาลี ว่า สีหเสนาบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพวกเราแล้ว แต่ส่วนพระองค์สิ มาตรัสอย่างนี้ กะข้าพระพุทธเจ้าว่า ดูกรสีหะ เธอจงทำการที่ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ เพราะการใคร่ครวญ เสียก่อนแล้วทำ เป็นความดีสำหรับคนมีชื่อเสียงเช่นเธอ ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป พระพุทธเจ้า. ภ. นานนักแล สีหะ ตระกูลของเธอได้เป็นสถานที่รับรองพวกนิครนถ์มา ด้วยเหตุนั้น เธอพึงสำคัญเห็นบิณฑบาตว่าเป็นของควรให้นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปถึงแล้ว. สี. โดยพระพุทธดำรัสแม้นี้ ข้าพระพุทธเจ้ายินดีพอใจยิ่งกว่าคาดหมายไว้ เพราะ พระองค์ตรัสอย่างนี้กะข้าพระพุทธเจ้าว่า นานนักแล สีหะ ตระกูลของเธอได้เป็นสถานที่รับรอง พวกนิครนถ์มา ด้วยเหตุนั้น เธอพึงสำคัญบิณฑบาตว่าเป็นของควรให้นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปถึง แล้ว ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบว่า พระสมณะโคดมรับสั่งอย่างนี้ว่า ควรให้ทานแก่เราผู้เดียว ไม่ควรให้ทานแก่คนพวกอื่น ควรให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้ทานแก่สาวกของ ศาสดาอื่น เพราะทานที่ให้แก่เราเท่านั้น มีผลมาก ทานที่ให้แก่คนพวกอื่นไม่มีผลมาก ทาน ที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของศาสดาอื่นไม่มีผลมาก แต่ส่วน พระองค์ทรงชักชวนข้าพระพุทธเจ้า ในการให้แม้ในพวกนิครนถ์ แต่ข้าพระพุทธเจ้าจักรู้กาลใน ข้อนี้เอง ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แม้ ครั้งที่สาม ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิม แต่วันนี้เป็นต้นไป พระพุทธเจ้าข้า.
สีหเสนาบดีได้ธรรมจักษุ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่สีหเสนาบดี คือ ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๔.

อานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า สีหเสนาบดีมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงได้ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดแก่สีหเสนาบดี ณ สถานที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น. ครั้นสีหเสนาบดีเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว หยั่งลงสู่ธรรม แล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า ขอพระผู้มีพระภาค พร้อมกับภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศล และปิติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดย ดุษณีภาพ ครั้นสีหเสนาบดีทราบอาการที่ทรงรับอาราธนาของพระผู้มีพระภาคแล้วได้ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณกลับไป ต่อมาสีหเสนาบดีใช้มหาดเล็กผู้หนึ่งว่า พนาย เจ้าจงไปหาซื้อเนื้อสดที่เขาขาย แล้วสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตโดย ผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้มหาดเล็กไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้วพระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว. ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนิน ไปทางนิเวศน์ของสีหเสนาบดี ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมกับ ภิกษุสงฆ์. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกนิครนถ์เป็นอันมาก พากันประคองแขน คร่ำครวญไปตามถนน หนทางสี่แยก สามแยกทั่วทุกสายในพระนครเวสาลีว่า วันนี้ สีหเสนาบดีล้มสัตว์ของเลี้ยงตัว อ้วนๆ ทำอาหารถวายพระสมณะโคดม พระสมณะโคดมทรงทราบอยู่ยังเสวยเนื้อนั้นซึ่งเขาทำ เฉพาะเจาะจงตน ขณะนั้น มหาดเล็กผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าสีหเสนาบดีทูลกระซิบว่า ขอเดชะ ฝ่าพระบาทพึงทราบว่านิครนถ์มากมายเหล่านั้น พากันประคองแขนคร่ำครวญไปตามถนนหนทาง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๕.

สี่แยกสามแยกทั่วทุกสายในพระนครเวสาลีว่า วันนี้สีหเสนาบดี ล้มสัตว์ของเลี้ยงตัวอ้วนๆ ทำอาหารถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบอยู่ ยังเสวยเนื้อนั้น ซึ่งเขาทำเฉพาะ เจาะจงตน. สีหเสนาบดีตอบว่า ช่างเถิดเจ้า ท่านเหล่านั้นมุ่งติเตียนพระพุทธเจ้ามุ่งติเตียนพระธรรม มุ่งติเตียนพระสงฆ์มานานแล้ว แต่ก็กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นด้วยถ้อยคำอันไม่มี เปล่า เท็จ ไม่จริง ยังไม่หนำใจ ส่วนพวกเราไม่ตั้งใจปลงสัตว์จากชีวิต แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเลย. ครั้งนั้น สีหเสนาบดีอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตด้วยมือของตน จนพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ห้ามภัตรแล้ว นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้สีหเสนาบดีผู้นั่ง เฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุก จากที่ประทับเสด็จกลับไป.
เรื่องสีหเสนาบดี จบ.
-----------------------------------------------------
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อที่ทำเฉพาะ
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิด นั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ไม่พึงฉันเนื้อที่เขาทำจำเพาะ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ปลา เนื้อ ที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ.
พระพุทธบัญญัติห้ามภัตตาหารบางชนิด


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๒๐๒๕-๒๑๐๑ หน้าที่ ๘๒-๘๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=2025&Z=2101&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=80&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=80&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=80&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=5&item=80&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=80              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_5

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :