พระพุทธบัญญัติห้ามภัตตาหารบางชนิด
[๘๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระนครเวสาลีมีภิกษาหารมาก มีข้าวกล้างอกงาม บิณฑบาต
ก็ง่าย ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหาก็ทำได้ง่าย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค
ประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงปริวิตกนี้ว่า ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคราว
อัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่
หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายก
นำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑
ภัตตาหารเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือหนอ.
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ประทับพักเร้น แล้วรับสั่งถามท่าน
พระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคราวอัตคัดอาหาร
มีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑
อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑
อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือ?
ท่านพระอานนท์ทูลว่า ยังฉันอยู่ พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น ผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิด
นั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑
อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วประเคนใหม่ ๑ อาหาร
ที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิด
ในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้น เราห้ามจำเดิมนี้เป็นต้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่
อาหารที่หุงต้มเอง อาหารที่จับต้องแล้วประเคนใหม่ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น อาหารที่รับประเคนฉันใน
ปุเรภัต อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ยังไม่เป็นเดน ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว
ไม่พึงฉัน รูปใดฉัน พึงปรับอาบัติตามธรรม.
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๒๑๐๑-๒๑๒๖ หน้าที่ ๘๕-๘๖.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=2101&Z=2126&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=81&items=1
อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :-
http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=81&items=1&mode=bracket
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=81&items=1
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=5&item=81&items=1
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=81
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕
http://84000.org/tipitaka/read/?index_5
บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com