ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
             [๙๗๙] อาบัติมี ๕ กองอาบัติมี ๕ วินีตวัตถุมี ๕. อนันตริยกรรมมี ๕. บุคคลที่
แน่นอนมี ๕ อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรมมี ๕ ต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อาบัติมี ๕ เพราะ
มุสาวาทเป็นปัจจัย.
             ภิกษุไม่เข้ากรรมด้วยอาการ ๕ คือ ตนเองไม่ทำกรรม ๑ ไม่เชิญภิกษุอื่น ๑ ไม่ให้
ฉันทะหรือปาริสุทธิ ๑ เมื่อสงฆ์ทำกรรมย่อมคัดค้าน ๑ เมื่อสงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้ว เห็นว่าไม่เป็น
ธรรม ๑.
             ภิกษุเข้ากรรมด้วยอาการ ๕ คือ ตนเองทำกรรม ๑ เชิญภิกษุอื่น ๑ ให้ฉันทะหรือ
ปาริสุทธิ ๑ เมื่อสงฆ์ทำกรรม ไม่คัดค้าน ๑ เมื่อสงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้ว เห็นว่าเป็นธรรม ๑
             ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต กิจ ๕ อย่างควร คือไม่บอกลาเที่ยวไป ๑ ฉันเป็นหมู่ได้ ๑
ฉันโภชนะทีหลังได้ ๑ ความไม่ต้องคำนึง ๑ ความไม่ต้องกำหนดหมาย ๑
             ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ จะเป็นภิกษุเลวทรามก็ดี จะเป็นภิกษุมีธรรมอันไม่กำเริบก็ดี
ย่อมถูกระแวง ถูกรังเกียจ คือ มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ๑ มีหญิงหม้ายเป็นโคจร ๑ มีสาว
เทื้อเป็นโคจร ๑ มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร ๑ มีภิกษุณีเป็นโคจร ๑.
             น้ำมันมี ๕ คือ น้ำมันงา ๑ น้ำมันเมล็ดพันธุ์ ผักกาด ๑ น้ำมันมะทราง ๑ น้ำมัน
ละหุ่ง ๑ น้ำมันเปลวสัตว์ ๑.
             น้ำมันเปลวสัตว์หมี ๕ คือ น้ำมันเปลวหมี ๑ น้ำมันเปลวปลา ๑ น้ำมันเปลวปลา
ฉลาม ๑ น้ำมันเปลวหมู ๑ น้ำมันเปลวลา ๑.
             ความเสื่อมมี ๕ คือ ความเสื่อมญาติ ๑ ความเสื่อมโภคสมบัติ ๑ ความเสื่อม คือ
โรค ๑ ความเสื่อมศีล ๑ ความเสื่อมทางทิฏฐิ คือ เห็นผิด ๑.
             ความถึงพร้อมมี ๕ คือ ความถึงพร้อมแห่งญาติ ๑ ความถึงพร้อมแห่งโภคสมบัติ ๑
ความถึงพร้อมแห่งความไม่มีโรค ๑ ความถึงพร้อมแห่งศีล ๑ ความถึงพร้อมแห่งความเห็นชอบ.
             นิสัยระงับจากพระอุปัชฌาย์มี ๕ คือ พระอุปัชฌาย์หลีกไป ๑ สึก ๑ ถึงมรณภาพ ๑
ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ๑  สั่งบังคับ ๑.
             บุคคล ๕ จำพวกไม่ควรให้อุปสมบท คือ มีกาลบกพร่อง ๑ มีอวัยวะบกพร่อง ๑
มีวัตถุวิบัติ ๑ มีความกระทำเสียหาย ๑ ไม่บริบูรณ์ ๑.
             ผ้าบังสุกุลมี ๕ คือ ผ้าตกที่ป่าช้า ๑ ผ้าตกที่ตลาด ๑ ผ้าหนูกัด ๑ ผ้าปลวกกัด ๑
ผ้าถูกไฟไหม้ ๑.
             ผ้าบังสุกุลแม้อื่นอีก ๕ คือ ผ้าที่วัวกัด ๑ ผ้าที่แพะกัด ๑ ผ้าที่ห่มสถูป ๑ ผ้าที่เขา
ทิ้งในที่อภิเษก ๑ ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา ๑.
             อวหารมี ๕ คือ เถยยาวหาร ๑ ปสัยหาวหาร ๑ ปริกัปปาวหาร ๑ ปฏิจฉันนาวหาร ๑
กุสาวหาร ๑.
             มหาโจรที่มีปรากฏอยู่ในโลก มี ๕.
             ภัณฑะที่ไม่ควรจ่าย มี ๕.
             ภัณฑะที่ไม่ควรแบ่ง มี ๕.
             อาบัติที่เกิดแต่กาย มิใช่วาจา มิใช่จิต มี ๕.
             อาบัติที่เกิดแต่กายและวาจา มิใช่จิต มี ๕.
             อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี มี ๕.
             สงฆ์ มี ๕ ปาติโมกขุเทศ มี ๕.
             ในชนบทชายแดนทุกแห่ง คณะมีพระวินัยธรเป็นที่ ๕ ให้กุลบุตรอุปสมบทได้.
             การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ กรรม มี ๕.
             อาบัติที่เป็นยาวตติยกา มี ๕.
             ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติปาราชิก.
             ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
             ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติทุกกฏ.
             ภิกษุไม่ควรบริโภคอกัปปิยวัตถุ ๕ คือ ของที่เขาไม่ให้ ๑ ไม่ทราบ ๑ เป็นอกัปปิยะ ๑
ยังไม่ได้รับประเคน ๑ ไม่ทำให้เป็นเดน ๑.
             ภิกษุควรบริโภคกัปปิยวัตถุ ๕ คือ ของที่เขาให้ ๑ ทราบแล้ว ๑ เป็นกัปปิยะ ๑
รับประเคนแล้ว ๑ ทำให้เป็นเดน ๑.
             การให้ไม่จัดเป็นบุญ แต่โลกสมมติว่าเป็นบุญมี ๕ คือ ให้น้ำเมา ๑ ให้มหรสพ ๑
ให้สตรี ๑ ให้โคผู้ ๑ ให้จิตรกรรม ๑.
             สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยากมี ๕ คือ ราคะบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑ โทสะ
บังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑ โมหะบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑ ปฏิภาณบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก
๑ จิตที่คิดจะไปบังเกิดแล้ว บรรเทาได้ยาก ๑.
             การกวาดมีอานิสงส์ ๕ คือ จิตของตนเลื่อมใส ๑ จิตของผู้อื่นเลื่อมใส ๑ เทวดา
ชื่นชม ๑ สั่งสมกรรมที่เป็นไปเพื่อให้เกิดความเลื่อมใส ๑ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อม
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑.
             การกวาดมีอานิสงส์แม้อื่นอีก ๕ คือ จิตของตนเลื่อมใส ๑ จิตของผู้อื่นเลื่อมใส ๑
เทวดาชื่นชม ๑ เป็นอันทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา ๑ ชุมชนมีในภายหลังถือเป็น
ทิฏฐานุคติ ๑.
ว่าด้วยองค์คุณของพระวินัยธร
[๙๘๐] พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำ ของตน ๑ ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๑ ไม่กำหนดถ้อยคำของตน ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำ ของผู้อื่นแล้วปรับอาบัติ ๑ ย่อมปรับอาบัติโดยไม่เป็นธรรม ๑ ย่อมปรับอาบัติไม่ตามปฏิญญา ๑ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๑ กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๑ กำหนดที่สุดถ้อยคำของตนทั้งกำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่นแล้ว ปรับอาบัติ ๑ ย่อมปรับอาบัติตามธรรม ๑ ย่อมปรับอาบัติตามปฏิญญา ๑ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลาคือ ไม่รู้จักอาบัติ ๑ ไม่รู้ จักมูลของอาบัติ ๑ ไม่รู้จักเหตุเกิดอาบัติ ๑ ไม่รู้จักการระงับอาบัติ ๑ ไม่รู้จักทางระงับอาบัติ ๑ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักมูลของ อาบัติ ๑ รู้จักเหตุเกิดอาบัติ ๑ รู้จักการระงับอาบัติ ๑ รู้จักทางระงับอาบัติ ๑ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่รู้จักอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้จักมูลของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้จักเหตุเกิดของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้จักความระงับของอธิกรณ์ ๑ ไม่รู้ จักข้อปฏิบัติอันให้ถึงความระงับแห่งอธิกรณ์ ๑ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอธิกรณ์ ๑ รู้จักมูลของ อธิกรณ์ ๑ รู้จักเหตุเหตุเกิดของอธิกรณ์ ๑ รู้จักความระงับของอธิกรณ์ ๑ รู้จักข้อปฏิบัติอันให้ ถึงความระงับแห่งอธิกรณ์ ๑ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่รู้จักวัตถุ ๑ ไม่รู้ จักเหตุเค้ามูล ๑ ไม่รู้จักบัญญัติ ๑ ไม่รู้จักอนุบัญญัติ ๑ ไม่รู้จักทางแห่งถ้อยคำอันเข้าอนุสนธิ กันได้ ๑. พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักวัตถุ ๑ รู้จักเหตุเป็น เค้ามูล ๑ รู้จักบัญญัติ ๑ รู้จักอนุบัญญัติ ๑ รู้จักทางแห่งถ้อยคำอันเข้าอนุสนธิกันได้ ๑. พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่รู้จักญัตติ ๑ ไม่ รู้จักตั้งญัตติ ๑ ไม่ฉลาดในเบื้องต้น ๑ ไม่ฉลาดในเบื้องปลาย ๑ ไม่รู้จักกาล ๑. พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักญัตติ ๑ รู้จักตั้งญัตติ ๑ ฉลาดในเบื้องต้น ๑ ฉลาดในเบื้องปลาย ๑ รู้จักกาล ๑ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่รู้จักอาบัติและ มิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้จักอาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วน เหลือ ๑ ไม่รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญ ถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ให้ดี ๑. พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้จักอาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ รู้จักอาบัติ ชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ยึดถือ ใส่ใจ ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ด้วยดี ๑. พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่รู้จักอาบัติและ มิใช่อาบัติ ๑ ไม่รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้จักอาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มี ส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้โดย พิสดาร จำแนกไม่ถูกต้อง สวดไม่คล่องแคล่ว วินิจฉัยไม่ถูกต้อง โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ ๑ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้จักอาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ รู้จักอาบัติ ชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง สวดได้ คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องดี โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ ๑ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้เขลา คือ ไม่รู้จักอาบัติและมิใช่ อาบัติ ๑ ไม่รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้จักอาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้จักอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ ๑. พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ รู้จักอาบัติและไม่ใช่อาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ รู้จักอาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ รู้จักอาบัติ ชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ ๑.
ว่าด้วยภิกษุอยู่ป่าเป็นต้น
[๙๘๑] ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ คือ เพราะเป็นผู้เขลา เพราะเป็นผู้งมงาย จึงอยู่ป่า ๑ เป็นผู้ปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงอยู่ป่า ๑ เพราะมัวเมา เพราะจิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า ๑ เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงอยู่ป่า ๑ เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และเพราะอาศัยความเป็นแห่งการ อยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยความปฏิบัติตามนี้ จึงอยู่ป่า ๑. ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตมี ๕. ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลมี ๕. ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้มี ๕. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้ามี ๕. ภิกษุผู้ถืออยู่กลางแจ้งมี ๕. ภิกษุผู้ถือผ้าสามผืนมี ๕. ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับมี ๕. ภิกษุผู้ถือการนั่งมี ๕. ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้มี ๕. ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียวมี ๕. ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลังมี ๕. ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรมี ๕ คือ เพราะเป็นผู้เขลา เพราะเป็นผู้งมงาย จึงถือ การฉันเฉพาะในบาตร ๑ เป็นผู้ปวารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงถือการฉันเฉพาะ ในบาตร ๑ เพราะมัวเมา เพราะจิตฟุ้งซ่าน จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๑ เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๑ เพราะ อาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และเพราะอาศัยความเป็นแห่งการฉัน เฉพาะในบาตรมีประโยชน์ด้วยความปฏิบัติตามนี้ จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๑.
ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย
[๙๘๒] ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้อุโบสถ ๑ ไม่รู้ อุโบสถกรรม ๑ ไม่รู้ปาติโมกข์ ๑ ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาหย่อนห้า ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้อุโบสถ ๑ รู้อุโบสถกรรม ๑ รู้ปาติโมกข์ ๑ รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาห้า หรือมีพรรษาเกินห้า ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้ปวารณา ๑ ไม่รู้ ปวารณากรรม ๑ ไม่รู้ปาติโมกข์ ๑ ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาหย่อนห้า ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้ปวารณา ๑ รู้ปวารณากรรม ๑ รู้ปาติโมกข์ ๑ รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาห้า หรือมีพรรษาเกินห้า ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้อาบัติและมิใช่ อาบัติ ๑ ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่ รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ มีพรรษาหย่อนห้า ๑. ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติ เบาและอาบัติหนัก ๑ รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ ไม่ชั่วหยาบ ๑ มีพรรษาห้า หรือมีพรรษาเกินห้า ๑. ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้อุโบสถ ๑ ไม่รู้อุโบสถ กรรม ๑ ไม่รู้ปาติโมกข์ ๑ ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาหย่อนห้า ๑. ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้อุโบสถ ๑ รู้อุโบสถกรรม ๑ รู้ปาติโมกข์ ๑ รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาห้า หรือมีพรรษาเกินห้า ๑. ภิกษุณีประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้ปวารณา ๑ ไม่รู้ปวารณากรรม ๑ ไม่รู้ปาติโมกข์ ๑ ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษาหย่อนห้า ๑. ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัย คือ รู้ปวารณา ๑ รู้ปวารณากรรม ๑ รู้ปาติโมกข์ ๑ รู้ปาติโมกขุทเทศ ๑ มีพรรษา ๕ หรือมีพรรษาเกินห้า ๑. ภิกษุณีประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕ จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ คือ ไม่รู้อาบัติและมิใช่ อาบัติ ๑ ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๑ ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ ไม่รู้ อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ มีพรรษาหย่อนห้า ๑. ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ รู้อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ รู้อาบัติ เบาและอาบัติหนัก ๑ รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑ รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ ไม่ชั่วหยาบ ๑ มีพรรษาห้า หรือมีพรรษาเกินห้า ๑.
โทษในกรรมไม่น่าเลื่อมใสเป็นต้น
[๙๘๓] กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษ ๕ คือ ตนเองก็ติเตียนตน ๑ ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ ครวญแล้วก็ติเตียน ๑ กิตติศัพท์อันทรามย่อมขจรไป ๑ หลงใหลทำกาละ ๑ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก ย่อยเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก ๑. กรรมที่น่าเลื่อมใสมีคุณ ๕ คือ ตนเองก็ไม่ติเตียนตน ๑ ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ สรรเสริญ ๑ กิตติศัพท์อันดีย่อมขจรไป ๑ ไม่หลงใหลทำกาละ ๑ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ๑. กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษแม้อื่นอีก ๕ คือ ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส ๑ คนบางพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเป็นอย่างอื่นไป ๑ เขาไม่เป็นอันทำคำสอนของพระศาสดา ๑ หมู่ชนมีในภายหลังย่อมถือเป็นทิฏฐานุคติ ๑ จิตของเขาไม่เลื่อมใส ๑. กรรมที่น่าเลื่อมใสมีคุณ ๕ คือ ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส ๑ ผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป ๑ เขาเป็นอันทำคำสอนของพระศาสดา ๑ หมู่ชนมีในภายหลังย่อมถือ เป็นทิฏฐานุคติ ๑ จิตของเขาย่อมเลื่อมใส ๑. ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลมีโทษ ๕ คือ ต้องอาบัติเพราะไม่บอกลาเที่ยวไป ๑ ต้องอาบัติ เพราะนั่งในที่ลับ ๑ ต้องอาบัติเพราะอาสนะกำบัง ๑ แสดงธรรมแก่มาตุคามด้วยวาจาเกิน ๕-๖ คำต้องอาบัติ ๑ เป็นผู้มากด้วยความดำริในกามอยู่ ๑. ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล คลุกคลีอยู่ในตระกูลเกินเวลา มีโทษ ๕ คือ เห็นมาตุคาม เนืองๆ ๑ เมื่อมีการเห็นก็มีการเกี่ยวข้อง ๑ เมื่อมีการเกี่ยวข้องก็ต้องคุ้นเคย ๑ เมื่อมีความ คุ้นเคยก็มีจิตกำหนัด ๑ เมื่อมีจิตกำหนัดก็หวังข้อนี้ได้ คือ เธอจักไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ หรือจักต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจักบอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ๑.
ว่าด้วยพืชและผลไม้
[๙๘๔] พืชมี ๕ ชนิด คือ พืชเกิดจากเหง้า ๑ พืชเกิดจากต้น ๑ พืชเกิดจากข้อ ๑ พืชเกิดจากยอด ๑ พืชเกิดจากเมล็ด ๑. ผลไม้ที่ควรบริโภคด้วยวิธีอันควรแก่สมณะมี ๕ คือ จี้ด้วยไฟ ๑ กรีดด้วยศาสตรา ๑. จิกด้วยเล็บ ๑ ไม่มีเมล็ด ๑ เขาปล้อนเมล็ดออกแล้วเป็นที่ห้า ๑.
ว่าด้วยวิสุทธิ ๕
[๙๘๕] วิสุทธิมี ๕ คือ ภิกษุแสดงนิทานแล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วยสุตบท นี้เป็น วิสุทธิข้อที่ ๑ แสดงนิทาน แสดงปาราชิก ๔ แล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ ๒ แสดงนิทาน แสดงปาราชิก ๔ แสดงสังฆาทิเสส ๑๓ แล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วย สุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ ๓ แสดงนิทาน แสดงปาราชิก ๔ แสดงสังฆาทิเสส ๑๓ แสดงอนิยต ๒ แล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ ๔ สวดโดยพิสดารอย่างเดียว เป็นวิสุทธิข้อที่ ๕. วิสุทธิแม้อื่นอีก ๕ คือ สุตตุทเทศ ๑ ปาริสุทธิอุโบสถ ๑ อธิษฐานอุโบสถ ๑ สามัคคีอุโบสถ ๑ ปวารณาเป็นที่ห้า ๑.
ว่าด้วยอานิสงส์การทรงวินัยเป็นต้น
[๙๘๖] การทรงวินัยมีอานิสงส์ ๕ คือ กองศีลของตนเป็นอันคุ้มครองรักษาดีแล้ว ๑ ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้ ๑ กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ ๑ ข่มด้วยดีซึ่งข้าศึก โดยสหธรรม ๑ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑. การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มี ๕ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มี ๕.
หมวด ๕ จบ
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำหมวด
[๙๘๗] อาบัติ ๑ กองอาบัติ ๑ วินีตวัตถุ ๑ อนันตริยกรรม ๑ บุคคล ๑ อาบัติมี อันตัดเป็นวินัยกรรม ๑ ต้องอาบัติ ๑ ปัจจัย ๑ ไม่เข้ากรรม ๑ เข้ากรรม ๑ กิจควร ๑ ภิกษุ ถูกระแวง ๑ น้ำมัน ๑ เปลวมัน ๑ ความเสื่อม ๑ ความเจริญ ๑ ความระงับ ๑ บุคคลไม่ควร ให้อุปสมบท ๑ ผ้าบังสุกุลที่ตก ณ ป่าช้า ๑ ผ้าบังสุกุลที่โคกัด ๑ การลัก ๑ โจร ๑ สิ่งของ ไม่ควรจ่าย ๑ สิ่งของไม่ควรแบ่ง ๑ อาบัติเกิดแต่กาย ๑ เกิดแต่กายและวาจา ๑ เป็นเทสนาคามินี ๑ สงฆ์ ๑ ปาติโมกขุทเทศ ๑ ปัจจันติมชนบท ๑ อานิสงส์กฐิน ๑ กรรม ๑ อาบัติเป็นยาว- *ตติยกา ๑ ปาราชิก ๑ ถุลลัจจัย ๑ ทุกกฏ ๑ ของเป็นอกัปปิยะ ๑ ของเป็นกัปปิยะ ๑ สิ่งที่ ให้แล้วไม่เป็นบุญ ๑ สิ่งที่บรรเทาได้ยาก ๑ การกวาด ๑ การกวาดอย่างอื่นอีก ๑ ถ้อยคำ ๑ อาบัติ ๑ อธิกรณ์ ๑ วัตถุ ๑ ญัตติ ๑ อาบัติและมิใช่อาบัติ ๑ ปาติโมกข์ทั้งสอง ๑ อาบัติเบา และอาบัติเป็นที่แปด ๑ จงทราบฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้ อยู่ป่า ๑ ถือเที่ยวบิณฑบาต ๑ ทรงผ้าบังสุกุล ๑ อยู่โคนไม้ ๑ อยู่ป่าช้า ๑ อยู่ที่แจ้ง ๑ ทรงผ้า ๓ ผืน ๑ ถือเที่ยวบิณฑบาตตาม ลำดับแถว ๑ ถือการนั่ง ๑ ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ ๑ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว ๑ ถือการห้ามภัตรที่ถวายทีหลัง ๑ ถือฉันข้าวในบาตร ๑ อุโบสถ ๑ ปวารณา ๑ อาบัติและมิใช่ อาบัติ ๑ บทฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้ สำหรับภิกษุณีก็เหมือนกัน กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส ๑ กรรมที่น่าเลื่อมใส ๑ กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสและน่าเลื่อมใสอื่นอีก ๒ อย่าง ๑ ภิกษุเข้าไปสู่สกุล ๑ ภิกษุคลุกคลีอยู่เกินเวลา ๑ พืช ๑ ผลไม้ควรแก่สมณะ ๑ วิสุทธิ ๑ วิสุทธิแม้อื่นอีก ๑ อานิสงส์ การทรงพระวินัย ๑ งดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม ๑ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ๖ หมวดห้าล้วนที่กล่าว แล้ว จบ
หัวข้อประจำหมวด ๕ จบ
-----------------------------------------------------
หมวด ๖
ว่าด้วยความไม่เคารพเป็นต้น


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๘๐๖๔-๘๒๘๘ หน้าที่ ๓๐๗-๓๑๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=8064&Z=8288&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=8&item=979&items=9&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=8&item=979&items=9              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=979&items=9&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=8&item=979&items=9&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=979              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_8

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :