![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค _____________ ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๑. เทวตาสังยุต ๑. นฬวรรค หมวดว่าด้วยต้นอ้อ ๑. โอฆตรณสูตร ว่าด้วยการข้ามโอฆะ [๑] ข้าพเจ้า๑- ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป๒- เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร๓- ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ทรงข้ามโอฆะ๔- ได้อย่างไร @เชิงอรรถ : @๑ คำว่า ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่นๆ ในเล่มนี้ หมายถึงพระอานนท์ @๒ เมื่อราตรีผ่านไป หมายถึงเมื่อปฐมยามผ่านไป มัชฌิมยามย่างเข้ามา @(สํ.ส.อ. ๑/๑/๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘) @๓ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) หมายถึงที่เหมาะสม คือ เว้นโทษ ๖ ประการ ได้แก่ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป @(๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป @(สํ.ส.อ. ๑/๑/๑๕, สํ.นิ.อ. ๒/๖๐/๙๘, องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕) @๔ โอฆะ หมายถึงห้วงน้ำคือกิเลส มี ๔ อย่างคือ (๑) กาโมฆะ โอฆะคือกาม (๒) ภโวฆะ โอฆะคือภพ @(๓) ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ (๔) อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชา (สํ.ส.อ. ๑/๑/๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๑. โอฆตรณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ผู้มีอายุ เราเองเมื่อไม่พัก๑- ไม่เพียร๒- จึงข้าม โอฆะได้ เทวดาทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็พระองค์เมื่อไม่พักไม่เพียร ทรง ข้ามโอฆะได้อย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ผู้มีอายุ เมื่อใดเรานั้นยังพักอยู่ เมื่อนั้นเราก็ ยังจมอยู่ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้นเราก็ยังลอยอยู่แน่นอน เราไม่พักไม่เพียร อย่างนี้แล จึงข้ามโอฆะได้ เทวดานั้นได้กล่าวคาถานี้ว่า นานจริงหนอ ข้าพเจ้าจึงได้พบพราหมณ์ ผู้ดับกิเลสได้สิ้นแล้ว ผู้ไม่พักไม่เพียรอยู่ ก็ข้ามตัณหาอันเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก๓- ได้ เทวดานั้นได้กล่าวคาถานี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัยแล้ว ครั้งนั้น เทวดา คิดว่า พระศาสดาของเราทรงพอพระทัยแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ๔- แล้วหายตัวไป๕- ณ ที่นั้นเองโอฆตรณสูตรที่ ๑ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ไม่พัก หมายถึงไม่แสวงหาความสุขในทางกามารมณ์ ซึ่งจัดอยู่ในกามสุขัลลิกานุโยค (สํ.ส.อ. ๑/๑/๑๘) @๒ ไม่เพียร หมายถึงไม่แสวงหาความทุกข์ด้วยการทรมานตนให้ลำบาก ซึ่งจัดอยู่ในอัตตกิลมถานุโยค @(สํ.ส.อ. ๑/๑/๑๘) @๓ โลก ในที่นี้หมายถึงสัตวโลก (สํ.ส.อ. ๑/๑/๑๙) @๔ กระทำประทักษิณ หมายถึงการเดินเวียนขวา คือเดินประนมมือเวียนขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ @(วิ.อ. ๑/๑๕/๑๗๖-๑๗๗) @๕ หายตัวไป หมายถึงละกายที่ปรุงแต่งแล้วดำรงอยู่ในกายที่ยึดครองตามปกติของตน (สํ.ส.อ. ๑/๑/๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑-๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=1 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=1&Z=29 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=1 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=1&items=3 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=1 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=1&items=3 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i001-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn01/sn01.001.than.html https://suttacentral.net/sn1.1/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.1/en/bodhi
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]