ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๖. สักกัจจสูตร

๖. สักกัจจสูตร
ว่าด้วยความเคารพ
[๗๐] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้น อย่างนี้ว่า “ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรหนอแลอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้” ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรจึงมีความคิดดังนี้ว่า ๑. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ๒. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระธรรม ฯลฯ ๓. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระสงฆ์ ฯลฯ ๔. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสิกขา ฯลฯ ๕. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสมาธิ ฯลฯ ๖. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยความไม่ประมาท ฯลฯ ๗. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ต่อมา ท่านพระสารีบุตรได้มีความคิดดังนี้ว่า “ธรรมของเราเหล่านี้ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค ธรรมของเรา เหล่านี้จักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุรุษได้ ทองคำแท่งอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เขามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทองคำแท่งของเรานี้บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไปเสนอทองคำแท่งนี้แก่ช่างทอง ทองคำแท่งของเรา นี้ไปถึงช่างทองแล้วจักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ธรรมของเราเหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักบริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไป กราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค ธรรมของเราเหล่านี้ก็จักบริสุทธิ์ และนับว่า บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้” ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรได้ออกจากที่หลีกเร้น๑- เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ที่หลีกเร้นในที่นี้หมายถึงการอยู่ผู้เดียวด้วยผลสมาบัติ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๗/๑๐๖, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๘/๒๐๓) @หรือทำนิพพานที่สงบสุขให้เป็นอารมณ์เข้าผลสมาบัติในเวลาเช้า (ตามนัย วิ.อ. ๑/๒๒/๒๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๕๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๖. สักกัจจสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงขึ้นอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรหนอแลอยู่ จึงละ อกุศล เจริญกุศลได้’ ลำดับนั้นแลข้าพระองค์จึงเกิดความคิดดังนี้ว่า ๑. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ๒. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระธรรม ฯลฯ ๓. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระสงฆ์ ฯลฯ ๔. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสิกขา ฯลฯ ๕. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสมาธิ ฯลฯ ๖. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยความไม่ประมาท ฯลฯ ๗. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ต่อมา ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ธรรมของเรา เหล่านี้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค ธรรมของเราเหล่านี้จักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบ เหมือนบุรุษได้ทองคำแท่งที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เขามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทองคำแท่ง ของเรานี้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดีเราควรจะไปเสนอทองคำแท่งนี้แก่ช่างทอง ทองคำ แท่งของเรานี้ไปถึงช่างทองแล้วจักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ธรรมของเราเหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักบริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค ธรรมของเราเหล่านี้ก็จักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัย ศาสดาอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ฯลฯ อาศัยธรรม ฯลฯ อาศัยสงฆ์ ฯลฯ อาศัย สิกขา ฯลฯ อาศัยสมาธิ ฯลฯ อาศัยความไม่ประมาท ฯลฯ สารีบุตร ภิกษุ สักการะ เคารพ อาศัยปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระ ภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๖. สักกัจจสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ๑-๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา จักมีความ เคารพในพระธรรม ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่า ไม่มีความเคารพในพระธรรมด้วย พระพุทธเจ้าข้า ๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ เคารพในพระธรรม จักมีความเคารพในพระสงฆ์ ภิกษุผู้ไม่มีความ เคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ก็ชื่อว่าไม่มี ความเคารพในพระสงฆ์ด้วย พระพุทธเจ้าข้า ๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ เคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ จักมีความเคารพ ในสิกขา ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพใน พระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพใน สิกขาด้วย พระพุทธเจ้าข้า ๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ เคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพ ในสิกขา จักมีความเคารพในสมาธิ ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพใน พระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพใน พระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพใน สมาธิด้วย พระพุทธเจ้าข้า ๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ เคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพ ในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ จักมีความเคารพในความไม่ ประมาท ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในความไม่ ประมาทด้วย พระพุทธเจ้าข้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๕๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๖. สักกัจจสูตร

๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ เคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพ ในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ ไม่มีความเคารพในความไม่ ประมาท จักมีความเคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ ไม่มีความเคารพในความไม่ประมาท ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพใน ปฏิสันถารด้วย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ๑-๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา จักไม่มีความ เคารพในพระธรรม ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่ามี ความเคารพในพระธรรมด้วย พระพุทธเจ้าข้า ๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีเคารพในพระศาสดา มีความเคารพใน พระธรรม จักไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ภิกษุผู้มีความเคารพ ในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม ก็ชื่อว่ามีความเคารพ ในพระสงฆ์ด้วย พระพุทธเจ้าข้า ๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพ ในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ จักไม่มีความเคารพในสิกขา ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ ก็ชื่อว่ามีความเคารพในสิกขาด้วย พระพุทธเจ้าข้า ๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพ ในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา จักไม่มีความเคารพในสมาธิ ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความ เคารพในสิกขา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในสมาธิด้วย พระพุทธเจ้าข้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๕๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๖. สักกัจจสูตร

๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพ ในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความเคารพในสมาธิ จักไม่มีความเคารพในความไม่ประมาท ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความเคารพใน สมาธิ ก็ชื่อว่ามีความเคารพในความไม่ประมาทด้วย พระพุทธเจ้าข้า ๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพ ในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความเคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่ประมาท จักไม่มี ความเคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความ เคารพในสิกขา มีความเคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่ ประมาท ก็ชื่อว่ามีความเคารพในปฏิสันถารด้วย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ๑-๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา จักมีความเคารพใน พระธรรมด้วย ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่ามีความ เคารพในพระธรรมด้วย พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ๗. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ฯลฯ มีความเคารพ ในความไม่ประมาท จักมีความเคารพในปฏิสันถารด้วย ภิกษุผู้มี ความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความ เคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความเคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่ประมาท ก็ชื่อว่ามีความเคารพในปฏิสันถารด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มี พระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ดีจริง สารีบุตร เธอรู้ชัดเนื้อความ แห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๖. สักกัจจสูตร

สารีบุตร ๑-๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา จักมีความเคารพ ในธรรม ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพ ในธรรมด้วย ฯลฯ ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา ไม่มีความ เคารพในธรรม ไม่มีความเคารพในสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในความไม่ ประมาทด้วย ๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา ไม่มีความ เคารพในธรรม ไม่มีความเคารพในสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ ไม่มีความเคารพในความไม่ประมาท จักมีความเคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา ไม่มีความเคารพในธรรม ไม่มีความเคารพในสงฆ์ ไม่มีความ เคารพในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ ไม่มีความเคารพใน ความไม่ประมาท ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในปฏิสันถารด้วย สารีบุตร ๑-๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา จักไม่มีความ เคารพในธรรม ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา ก็ชื่อว่ามีความ เคารพในธรรมด้วย ฯลฯ ๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา มีความเคารพ ในธรรม มีความเคารพในสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความ เคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่ประมาท จักไม่มีความ เคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา มีความ เคารพในธรรม มีความเคารพในสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความเคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่ประมาท ก็ชื่อว่า มีความเคารพในปฏิสันถารด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๗. ภาวนาสูตร

สารีบุตร ๑-๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา จักมีความเคารพใน ธรรมด้วย ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา ก็ชื่อว่ามีความเคารพใน ธรรมด้วย ฯลฯ ๗. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา ฯลฯ มีความเคารพใน ความไม่ประมาท จักมีความเคารพในปฏิสันถารด้วย ภิกษุผู้มี ความเคารพในศาสดา ฯลฯ มีความเคารพในความไม่ประมาท ก็ชื่อว่ามีความเคารพในปฏิสันถารด้วย สารีบุตร เธอพึงทราบเนื้อความแห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้แล โดยพิสดาร อย่างนี้”
สักกัจจสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=67              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=2512&Z=2592                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=67              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=67&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4582              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=67&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4582                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i062-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an7.70/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :