ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๖. อธิมานสูตร

๖. อธิมานสูตร
ว่าด้วยความสำคัญผิด
[๘๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะอยู่ที่พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหากัสสปะจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรา รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่นซักถาม สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถูกพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ซักถาม สอบถาม ไล่เลียงอยู่ ย่อมถึงความเป็นคนเปล่า ความไม่มีคุณ ความ ไม่เจริญ ความพินาศ ทั้งความไม่เจริญและความพินาศ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้อีกต่อไป’ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งภิกษุ นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้มีความสำคัญผิด สำคัญผิดโดยสัตย์จริง มีความสำคัญในสิ่ง ที่ยังไม่ได้ถึงว่าได้ถึง มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้ทำว่าได้ทำ มีความสำคัญในสิ่งที่ยัง ไม่ได้บรรลุว่าได้บรรลุ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๖. อธิมานสูตร

พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงมีความสำคัญผิด สำคัญผิดโดยสัตย์จริง เพราะอาศัยสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้ถึงว่าได้ถึง มีความ สำคัญในสิ่งยังไม่ได้ทำว่าได้ทำ มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุว่าได้บรรลุ ย่อม พยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำได้ คล่อง ปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น ท่านผู้นี้จึงมีความสำคัญผิด สำคัญ ผิดโดยสัตย์จริง มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้ถึงว่าได้ถึง มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ ได้ทำว่าได้ทำ มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุว่าได้บรรลุ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผล ด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งภิกษุ นั้นอย่างนี้ว่า ๑. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) มีใจถูกอภิชฌา กลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกอภิชฌากลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมใน พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ๒. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีพยาบาท(ความคิดร้าย) มีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุมอยู่โดย มาก’ ก็การถูกพยาบาทกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่ พระตถาคตทรงประกาศแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๙๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๖. อธิมานสูตร

๓. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) มีใจถูกถีนมิทธะกลุ้ม รุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระ ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ๔. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) มีใจถูกอุทธัจจะกลุ้มรุมอยู่โดย มาก’ ก็การถูกอุทธัจจะกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่ พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ๕. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) มีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุมอยู่ โดยมาก’ ก็การถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรม วินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ๖. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการงาน๑- ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ ชอบการงาน’ ก็ความเป็นผู้ชอบการงานนี้แล เป็นความเสื่อมในพระ ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ๗. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการพูดคุย ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความ เป็นผู้ชอบการพูดคุย’ ก็ความเป็นผู้ชอบการพูดคุยนี้แล เป็นความเสื่อม ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ๘. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบ ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ’ ก็ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ๙. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ หมั่น ประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่’ ก็ความเป็นผู้ชอบการ คลุกคลีด้วยหมู่นี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง ประกาศแล้ว ๑๐. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลงลืมสติ ถึงความหยุดชงักเสียในระหว่างที่จะบรรลุคุณ วิเศษชั้นสูง เพราะได้บรรลุคุณวิเศษชั้นต่ำ’ ก็การถึงความหยุดชงักเสีย @เชิงอรรถ : @ การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือ การก่อสร้างต่างๆ เช่น การก่อสร้างวิหารเป็นต้น ความเป็นผู้ยินดี @แต่การก่อสร้างที่ถือว่าเป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยนี้ เพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระ และ @วิปัสสนาธุระ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๔-๑๕/๑๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร

ในระหว่างนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง ประกาศแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ไม่ได้แล้ว จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ได้แล้ว จักถึงความเจริญงอก งามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
อธิมานสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๙๑-๑๙๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=84              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=3730&Z=3788                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=86              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=86&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8139              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=86&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8139                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i081-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an10.86/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :