ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
๘. สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร
[๗๒๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อัน เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตร จัดเสนาสนะและแจกอาหารแก่สงฆ์ แต่ท่านเป็นผู้มีจีวรเก่า. สมัยนั้น มีจีวรผืนหนึ่งเกิดขึ้น แก่สงฆ์ สงฆ์จึงได้ถวายจีวรผืนนั้นแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร พวกพระฉัพพัคคีย์พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภของสงฆ์ไปตามชอบใจ. บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์ กับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรไปแล้ว ภายหลังจึงได้ถึงธรรมคือบ่นเล่า แล้วกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอกับสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรแล้ว ภายหลังถึงธรรมคือบ่น จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอกับสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรแล้ว ภายหลังจึงได้ถึงธรรมคือบ่นเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๓๐. ๑๑. อนึ่ง ภิกษุใด กับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่า ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภของสงฆ์ไปตามชอบใจ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๗๒๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน. ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัป เป็นอย่างต่ำ. บทว่า ให้ คือ ตนเองก็ให้. ที่ชื่อว่า ตามชอบใจ คือ ตามความที่เป็นไมตรีกัน ตามความที่เคยเห็นกัน ตาม ความที่เคยคบกัน ตามความที่ร่วมอุปัชฌาย์กัน ตามความที่ร่วมอาจารย์กัน. ที่ชื่อว่า ของสงฆ์ คือ ที่เขาถวายแล้ว ที่เขาสละแล้ว แก่สงฆ์. ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัย ของภิกษุไข้ โดยที่สุดแม้ก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน ด้วยชายผ้า. คำว่า ภายหลังถึงธรรมคือบ่น ความว่า เมื่อให้จีวรแก่อุปสัมบันที่สงฆ์สมมติให้เป็น ผู้จัดเสนาสนะก็ดี ให้เป็นผู้แจกอาหารก็ดี ให้เป็นผู้แจกยาคูก็ดี ให้เป็นผู้แจกผลไม้ก็ดี ให้เป็นผู้แจกของเคี้ยวก็ดี ให้เป็นผู้แจกของเล็กน้อยก็ดี แล้วบ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๗๒๕] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม เมื่อให้จีวรแล้ว บ่น ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย เมื่อให้จีวรแล้ว บ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม เมื่อให้จีวรแล้ว บ่น ต้องอาบัติ- *ปาจิตตีย์.
ฉักกะทุกกฏ
ให้บริขารอย่างอื่นแล้ว บ่น ต้องอาบัติทุกกฏ. ให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อุปสัมบัน ผู้ที่สงฆ์ไม่ได้สมมติให้เป็นผู้จัดเสนาสนะ ให้เป็นผู้แจกอาหาร ให้เป็นผู้แจกยาคู ให้เป็นผู้แจกผลไม้ ให้เป็นผู้แจกของเคี้ยว หรือให้เป็น ผู้แจกของเล็กน้อยแล้ว บ่น ต้องอาบัติทุกกฏ. เมื่อให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อนุปสัมบันผู้ที่สงฆ์สมมติก็ดี ไม่ได้สมมติก็ดี ให้เป็น ผู้จัดเสนาสนะ ให้เป็นผู้แจกอาหาร ให้เป็นผู้แจกยาคู ให้เป็นผู้แจกผลไม้ ให้เป็นผู้แจก ของเคี้ยว หรือให้เป็นผู้แจกของเล็กน้อยแล้ว บ่น ต้องอาบัติทุกกฏ. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ... ต้องอาบัติทุกกฏ. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๗๒๖] ภิกษุบ่นว่า สงฆ์มีปกติทำโดยฉันทาคติ ... โทสาคติ ... โมหาคติ ... ภยาคติ จะประโยชน์อะไรด้วยจีวรที่ให้แล้วแก่ภิกษุนั้น แม้เธอได้ไปแล้วก็จักทิ้งเสีย จักไม่ใช้สอยโดย ชอบธรรม ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๓๙๐๒-๑๓๙๖๕ หน้าที่ ๕๙๙-๖๐๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=13902&Z=13965&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=2&A=13902&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=117              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=723              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=2&A=8529              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10117              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=2&A=8529              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10117              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc81/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc81/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]