ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
๒. ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉันนะ
[๓๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนคร โกสัมพี. ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติอนาจารเอง แล้วถูกไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลาง สงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ต้องอะไร? ต้องเพราะเรื่องอะไร? ต้อง อย่างไร? ท่านทั้งหลายว่าใคร? ว่าเรื่องอะไร? บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระฉันนะถูก ไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง? ต้อง อะไร? ต้องเพราะเรื่องอะไร? ต้องอย่างไร? ท่านทั้งหลายว่าใคร? ว่าเรื่องอะไร? ดังนี้เล่า? แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระฉันนะว่า ดูกรฉันนะ ข่าวว่า เธอถูกไต่สวน เพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง? ... ว่าเรื่องอะไร? ดังนี้ จริงหรือ? ท่านพระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอเมื่อถูกไต่สวนเพราะต้อง อาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง? ... ว่าเรื่องอะไร? ดังนี้ เล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นทรง ติเตียนแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น สงฆ์จงยก อัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงยกอัญญวาทกกรรมอย่างนี้-
กรรมวาจาลงอัญญวาทกกรรม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวนด้วยอาบัติในท่าม- *กลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว. สงฆ์พึงยกอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ นี่เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวนด้วยอาบัติในท่าม กลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน. สงฆ์ยกอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ. การยกอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง. ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้นพึงพูด. อัญญวาทกกรรมอันสงฆ์ยกแล้วแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่สงฆ์, เหตุนั้นจึงนิ่ง, ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
[๓๕๙] พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระฉันนะ โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษ แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ... แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๑. ๒. ก. เป็นปาจิตตีย์ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.
เรื่องพระฉันนะ จบ.
-----------------------------------------------------
เรื่องพระฉันนะ
[๓๖๐] อนึ่ง โดยสมัยนั้นแล ท่านพระฉันนะถูกไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลาง สงฆ์ คิดว่า เมื่อเราเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนจักต้องอาบัติ จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระฉันนะถูกไต่สวน เพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบากเล่า? แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาค-.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูกรฉันนะ ข่าวว่า เธอเมื่อถูกไต่สวน เพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก จริงหรือ? ท่านพระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอเมื่อถูกไต่สวนเพราะ ต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นทรงติเตียนแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะ- *ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้นสงฆ์จงยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงยกวิเหสกกรรมอย่างนี้:-
กรรมวาจาลงวิเหสกกรรม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวนด้วยอาบัติในท่าม กลางสงฆ์ ได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว. สงฆ์ พึงยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ นี่เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวนด้วยอาบัติในท่าม กลางสงฆ์ ได้นิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก. สงฆ์ยกวิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ. การยก วิเหสกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง. ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด, ท่านผู้นั้นพึงพูด. วิเหสกกรรมอันสงฆ์ยกแล้วแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่สงฆ์, เหตุนั้นจึงนิ่ง, ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. [๓๖๑] พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระฉันนะ โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษ แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๖๑. ๒. ข. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความ เป็นผู้ให้ลำบาก.
เรื่องพระฉันนะ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๓๖๒] ที่ชื่อว่า เป็นผู้กล่าวคำอื่น คือ ภิกษุเมื่อถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงเอาเรื่องอื่น มาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเพราะเรื่องอะไร ต้องอย่างไร ท่านทั้งหลาย ว่าใคร ว่าเรื่องอะไร, ดังนี้ นี่ชื่อว่า เป็นผู้กล่าวคำอื่น. [๓๖๓] ที่ชื่อว่า เป็นผู้ให้ลำบาก คือ ภิกษุเมื่อถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก นี่ชื่อว่า เป็นผู้ให้ลำบาก.
บทภาชนีย์
[๓๖๔] เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกอัญญวาทกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงเอาเรื่องอื่นมา พูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเพราะเรื่องอะไร ต้องอย่างไร ท่านทั้งหลายว่า ใคร ว่าเรื่องอะไร ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ. เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกวิเหสกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก ต้องอาบัติทุกกฏ. [๓๖๕] เมื่อสงฆ์ยกอัญญวาทกกรรมแล้ว ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงเอาเรื่องอื่นมา พูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ... ว่าเรื่องอะไร ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เมื่อสงฆ์ยกวิเหสกกรรมแล้ว ภิกษุถูกไต่สวนในเพราะวัตถุหรืออาบัติ ณ ท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะบอกเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ติกะปาจิตตีย์
[๓๖๖] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ในเพราะ ความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ใน เพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความ เป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก.
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ-. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ-. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ-.
อนาปัตติวาร
[๓๖๗] ภิกษุไม่เข้าใจจึงถาม ๑ ภิกษุอาพาธให้การไม่ได้ ๑ ภิกษุไม่ให้การด้วยคิดว่า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง หรือความวิวาทจักมีแก่สงฆ์ ๑ ภิกษุไม่ให้การ ด้วยคิดว่า จักเป็นสังฆเภท หรือสังฆราชี ๑ ภิกษุไม่ให้การด้วยคิดว่า สงฆ์จักทำกรรมโดยไม่- *ชอบธรรม โดยเป็นวรรค หรือจักไม่ทำกรรมแก่ภิกษุผู้ควรแก่กรรม ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๘๖๐๖-๘๗๒๓ หน้าที่ ๓๕๐-๓๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=8606&Z=8723&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=2&A=8606&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=48              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=358              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=2&A=4223              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6897              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=2&A=4223              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6897              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc12/en/brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]