ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาประพฤติตามพระอริฏฐะผู้เผ่าพราน แร้ง ที่ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ประพฤติตามพระอริฏฐะผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูกสงฆ์ผู้ พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้วเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา ประพฤติตามอริฏฐะภิกษุผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูกสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ ประพฤติตามอริฏฐะภิกษุผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูกสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้วเล่า การกระทำของ เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๗. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาส เสมอกันให้เป็นสหาย ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ภิกษุนั่น แล อันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อ เฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้าอย่าประพฤติตาม ภิกษุนั่นเลย แลภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หาก นางถูกสวดสมณุภาสกว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการ ดี หากนางไม่สละเสีย แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่ออุกขิตตานุวัตติกา หาสังวาสมิได้.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน. ที่ชื่อว่า ถูกยกเสียแล้ว คือ ถูกยกเสียในเพราะไม่เห็นอาบัติ ในเพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือในเพราะไม่สละทิฏฐิบาป. สองบทว่า ตามธรรม ตามวินัย คือ โดยธรรมอันใด โดยวินัยอันใด. บทว่า อันเป็นสัตถุศาสน์ คือ เป็นคำสั่งสอนของพระผู้ชำนะกิเลส ได้แก่พระพุทธศาสนา. ที่ชื่อว่า ไม่เอื้อเฟื้อ คือไม่เชื่อสงฆ์ บุคคล หรือกรรม. ที่ชื่อว่า ไม่ทำคืนอาบัติ คือ ถูกสงฆ์ยกแล้ว สงฆ์ยังไม่เรียกเข้าหมู่. ที่ชื่อว่า มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย คือ ภิกษุทั้งหลายผู้มีสังวาสเสมอ กัน ตรัสเรียกว่าภิกษุผู้สหาย ภิกษุนั้นไม่ร่วมกับภิกษุผู้สหายเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า มิได้ ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย. บทว่า พึงประพฤติตามภิกษุนั้น ความว่า ภิกษุนั้นมีความเห็นอย่างใด มีความพอใจ อย่างใด มีความชอบใจอย่างใด แม้ภิกษุณีนั้นมีความเห็นอย่างนั้น มีความพอใจอย่างนั้น มีความ ชอบใจอย่างนั้น. [๒๐] บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุ ผู้ถูกสงฆ์ยกเสียแล้วนั้น. บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุณีเหล่าอื่น คือ ภิกษุณีที่ได้เห็นได้ยินทั้งหลาย พึงว่ากล่าวดังนี้ว่า แม่เจ้า ภิกษุนั้นแล อันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่ เจ้าอย่าประพฤติตามภิกษุนั่น. พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม. หากนางสละได้ การสละได้ดั่งนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีทั้งหลายทราบเรื่องแล้วไม่ ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วว่ากล่าว ว่า แม่เจ้า ภิกษุนั่นแลอันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้าอย่าประพฤติ ตามภิกษุนั่นเลย. พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม. หากเธอสละได้ การสละได้ ดั่งนี้นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ. [๒๑] ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส. ดูกรภิกษุทั้งหลายก็แลภิกษุณีทั้ง หลายพึงสวดสมนุภาสอย่างนี้. ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมนุภาส
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ประพฤติตามภิกษุผู้อันสงฆ์พร้อม เพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย นางยังไม่ยอมสละวัตถุนั้น. ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่นี่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น. นี้เป็นญัตติ. แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ประพฤติตามภิกษุผู้อันสงฆ์พร้อม- เพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่คืนอาบัติ มิได้ ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย นางยังไม่ยอมสละวัตถุนั้น. สงฆ์สวดสมภาสภิกษุณีผู้ มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น. การสวดสมนุภาสภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่ แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด. ดิฉันกล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ... ดิฉันกล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ... ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละวัตถุนั้น. ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง. ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. [๒๒] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย จบกรรมวาจา ครั้งสุด ต้องอาบัติปาราชิก. [๒๓] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน. คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้วเป็นของกลับต่อกันสนิทไม่ ได้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นแล อันสงฆ์สวดสมนุภาสอยู่ถึงครั้งที่สาม ยังไม่สละ ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่ใช่ธิดาของพระศากยะบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก. บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศที่ พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.
บทภาชนีย์
ติกะปาราชิก
[๒๔] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติปาราชิก. กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ห้องอาบัติปาราชิก. กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติปาราชิก.
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ... ต้องอาบัติทุกกฏ. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๒๕] ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ยอมเสียสละ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ ต้องอาบัติแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๒๓๐-๓๒๔ หน้าที่ ๑๑-๑๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=230&Z=324&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=3&A=230&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=3              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=18              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=3&A=258              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10789              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=3&A=258              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10789              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.018 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pj7/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pj7/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]