คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
*บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพากันบวชสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษา
สิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี สิกขมานาพวกนั้นจึงเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่
ควรหรือไม่ควร.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย
จึงได้บวชสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลาย
บวชสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีจริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวช
สิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีเล่า การกระทำของพวกนางนั่นไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่สิกขมานา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้สิกขาสมมตินั้นอย่างนี้.
วิธีให้สิกขาสมมติ
สิกขมานานั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลาย แล้ว
นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ ว่าดังนี้
แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง ... พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้.
กรรมวาจา
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางนี้มีชื่อนี้เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขา-
*สมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง
ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี แก่สิกขมานามีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางนี้มีชื่อนี้เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขา-
*สมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติ ในธรรม ๖ ประการตลอด ๒
ปี แก่สิกขมานาชื่อนี้ การให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแก่สิกขมานาชื่อนี้
ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่สิกขมานาชื่อนี้แล้ว ชอบ
แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พึงบอกสิกขมานาผู้นั้นว่า เธอจงว่าอย่างนี้.
๑. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี
๒. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการถือเอาพัสดุอันเจ้าของเขามิได้ให้ มั่น ไม่ละเมิด
ตลอด ๒ ปี
๓. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการประพฤติผิด มิใช่กิจพรหมจรรย์ มั่น ไม่ละเมิด
ตลอด ๒ ปี
๔. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการพูดเท็จ มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี
๕. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นฐานประมาท
มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี
๖. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้ แล้วตรัสโทษ
แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๑๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอดสองฝน ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๓๗๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่
ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า สองฝน คือ ๒ ปี.
ที่ชื่อว่า ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา คือ สิกขาอันภิกษุณียังมิได้ให้ หรือให้แล้วแต่สิกขมานา
ทำขาดเสีย.
บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี
ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรม
วาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๓๗๔] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๓๗๕] บวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๔๙๗๙-๕๐๕๕ หน้าที่ ๒๒๔-๒๒๖.
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=4979&Z=5055&pagebreak=0
https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=3&A=4979&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=91
ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=372
พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=3&A=4027
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11747
The Pali Tipitaka in Roman :-
https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=3&A=4027
The Pali Atthakatha in Roman :-
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11747
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓
https://84000.org/tipitaka/read/?index_3
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.372
https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc63/en/brahmali
https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc63/en/horner
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
