![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
![]() |
![]() |
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๓ เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง [๔๕๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง เป็นกุลุปิกาของสตรีคนหนึ่ง ซึ่งสตรี นั้นได้กล่าวขอร้องภิกษุณีรูปนั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านได้โปรดนำเครื่องประดับเอวนี้ไปให้แก่ หญิงชื่อโน้น จึงภิกษุณีนั้นคิดเห็นว่า ถ้าเราจะนำไปด้วยบาตร เสียงดังจักมีแก่เรา แล้วได้สวมไป เมื่อด้ายขาด เครื่องประดับเอวตกเรี่ยรายลงบนถนน. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้เครื่องประดับเอวเหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า. ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ใช้เครื่องประดับเอวเล่า ...ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีใช้เครื่อง ประดับเอว จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงได้ใช้เครื่องประ- *ดับเอวเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๑๔๑. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้เครื่องประดับเอว เป็นปาจิตตีย์.เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ. สิกขาบทวิภังค์ [๔๕๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า เครื่องประดับเอว ได้แก่ เครื่องประดับเอวชนิดใดชนิดหนึ่ง บทว่า ใช้ คือ ใช้แม้ครั้งเดียว ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.อนาปัตติวาร [๔๕๖] ใช้ด้ายรัดเอวเพราะเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๖๑๘๕-๖๒๑๕ หน้าที่ ๒๘๑-๒๘๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=6185&Z=6215&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=3&A=6185&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=114 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=454 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=3&A=4990 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11895 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=3&A=4990 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11895 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.454 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc86/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc86/en/horner
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]