บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
มูลเหตุอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม เรื่องพราหมณ์คนหนึ่ง [๘๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้วขอบรรพชา. ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาจะให้เธอบรรพชา. เมื่อเธอไม่ได้บรรพชาในสำนักภิกษุ จึงได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองๆ ขึ้น มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น. พระผู้มีพระภาคทอด พระเนตรเห็นพราหมณ์นั้นซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัว สะพรั่งด้วยเอ็น ครั้นแล้วรับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุไฉนพราหมณ์นั้น จึงได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นเล่า? ภิกษุทั้งหลายทูลว่า เพราะพราหมณ์นั่นเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้วขอบรรพชา ภิกษุ ทั้งหลายไม่ปรารถนาจะให้เธอบรรพชา เมื่อเธอไม่ได้บรรพชาในสำนักภิกษุ จึงได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น พระพุทธเจ้าข้า. ทีนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครระลึกถึงบุญคุณ ของพราหมณ์นั้นได้บ้าง? เมื่อตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าพระพุทธเจ้าระลึกถึงบุญคุณของพราหมณ์นั้นได้อยู่ พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดูกรสารีบุตร ก็เธอระลึกถึงบุญคุณของพราหมณ์นั้นได้อย่างไรบ้าง? สา. พระพุทธเจ้าข้า เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ณ พระนครราชคฤห์นี้ พราหมณ์ผู้นั้นได้สั่งให้ถวายภิกษา ๑ ทัพพี ข้าพระพุทธเจ้าระลึกถึงบุญคุณของพราหมณ์นั้นได้ เท่านี้แล พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ดีละๆ สารีบุตร ความจริงสัตบุรุษทั้งหลาย เป็นผู้กตัญญูกตเวที สารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พราหมณ์นั้นบรรพชาอุปสมบทเถิด. สา. ข้าพระพุทธเจ้าจะให้พราหมณ์นั้นบรรพชาอุปสมบทอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เรา ห้ามการอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ซึ่งเราได้อนุญาตไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการ อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวิธีให้อุปสมบท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงให้อุปสมบทอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง ประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-กรรมวาจาให้อุปสมบท ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี ชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็น อุปัชฌายะ นี่เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี ชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้ มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงพูด. ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้ นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.ภิกษุประพฤติอนาจาร [๘๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพออุปสมบทแล้ว ได้ประพฤติอนาจาร. ภิกษุ ทั้งหลายพากันกล่าวห้ามอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณอย่าได้ทำอย่างนั้น เพราะนั่นไม่ควร. เธอกล่าว อย่างนี้ว่า กระผมมิได้ขอร้องท่านทั้งหลายว่า ขอจงให้กระผมอุปสมบท ท่านทั้งหลายมิได้ถูก ขอร้องแล้ว ให้กระผมอุปสมบทเพื่ออะไร. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มิได้รับการขอร้อง ไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใด อุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกขอร้องอุปสมบทให้.วิธีขออุปสมบท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลอุปสัมปทาเปกขะพึงขออย่างนี้ อุปสัมปทาเปกขะนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย นั่ง กระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออุปสมบทอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด เจ้าข้า. พึง ขอแม้ครั้งที่สอง ... พึงขอแม้ครั้งที่สาม ... ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-กรรมวาจาให้อุปสมบท ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี ชื่อนี้. ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. นี่เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี ชื่อนี้ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มี ท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ... ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.พราหมณ์ขออุปสมบท [๘๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนทั้งหลายได้จัดตั้งลำดับภัตตาหารอันประณีตไว้ที่ใน พระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งได้มีความดำริว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เหล่านี้ มีปกติเป็นสุข มีความประพฤติสบาย ฉันโภชนะที่ดี นอนบนที่นอนที่เงียบสงัด ถ้ากระไร เราพึงบวชในพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเถิด ดังนี้ แล้วได้เข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้วขอบรรพชา. ภิกษุทั้งหลายให้เขาบรรพชาอุปสมบทแล้ว. ครั้นเขาบวชแล้ว ประชาชนให้ เลิกลำดับภัตตาหารเสีย. ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า คุณจงมาเดี๋ยวนี้ พวกเราจักไปบิณฑบาต. เธอพูดอย่างนี้ว่า กระผมมิได้บวชเพราะเหตุนี้ว่า จักเที่ยวบิณฑบาต ถ้าท่านทั้งหลายให้กระผม กระผมจักฉัน ถ้าไม่ให้กระผม กระผมจะสึก ขอรับ. พวกภิกษุถามว่า อาวุโส ก็คุณบวชเพราะเหตุแห่งท้องหรือ? เธอตอบว่า อย่างนั้นซิ ขอรับ. บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึงได้บวช ในพระธรรมวินัย อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุแห่งท้องเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือ ภิกษุ ข่าวว่า เธอบวชเพราะเหตุ แห่งท้อง? ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียน พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้บวชในธรรมวินัยที่ เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุแห่งท้องเล่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้ อุปสมบท บอกนิสสัย ๔ ว่าดังนี้:-นิสสัย ๔ ๑. บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่ง นั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ์ ภัตถวายในวันปาฏิบท. ๒. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน. (เช่นผ้าด้ายแกมไหม) ๓. บรรพชา อาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ. ๔. บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย.อุปัชฌายวัตรภาณวาร จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๘๖๖-๑๙๗๔ หน้าที่ ๗๗-๘๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=1866&Z=1974&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=4&A=1866&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=22 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=85 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=4&A=2063 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=893 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=4&A=2063 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=893 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic28 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:28.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.28.1
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]