บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
เรื่องสมาทานติตถิยมีวัตรเปลือยกายเป็นต้น [๑๖๘] ก็โดยสมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเปลือยกายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบ ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย การเปลือยกายนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระ- *พุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตการเปลือยกาย แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้นไม่สมควร .... ดูกรโมฆะบุรุษ ไฉนเธอจึงได้สมาทานการเปลือยกายที่พวกเดียรถีย์สมาทานเล่า การกระทำของ เธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมาทานการเปลือยกายที่พวกเดียรถีย์สมาทาน รูปใดสมาทาน ต้องอาบัติถุลลัจจัย. สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งนุ่งผ้าคากรอง .... รูปหนึ่งนุ่งผ้าเปลือกไม้กรอง .... รูปหนึ่งนุ่งผ้า ผลไม้กรอง .... รูปหนึ่งนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยผมคน .... รูปหนึ่งนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์ .... รูปหนึ่ง นุ่งผ้าทำด้วยปีกนกเค้า .... รูปหนึ่งนุ่งหนังเสือ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลคำนี้แด่ พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาคุณแห่งความมักน้อย ความ สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย อเนกปริยาย หนังเสือนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอ ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตหนังเสือแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่นไม่สมควร .... ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้ทรงหนังเสืออันเป็นธงชัยของเดียรถีย์เล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งแก่ภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงหนังเสืออันเป็นธงชัยของเดียรถีย์ รูปใดทรง ต้องอาบัติถุลลัจจัย. สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งนุ่งผ้าทำด้วยก้านดอกรัก .... รูปหนึ่งนุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอ เข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนา คุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ผ้าทำด้วยเปลือกปอนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความมักน้อย ความ สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย อเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาสขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณาอนุญาต ผ้าทำด้วยเปลือกปอแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่นไม่สมควร .... ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้นุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้วได้ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอ รูปใดนุ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.พระฉัพพัคคีย์ทรงจีวรสีครามล้วนเป็นต้น [๑๖๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทรงจีวรสีครามล้วน ทรงจีวรสีเหลืองล้วน ทรงจีวรสีแดงล้วน ทรงจีวรสีบานเย็นล้วน ทรงจีวรสีดำล้วน ทรงจีวรสีแสดล้วน ทรงจีวรสี ชมพูล้วน ทรงจีวรที่ไม่ตัดชาย ทรงจีวรมีชายยาว ทรงจีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ ทรงจีวรมีชาย เป็นแผ่น สวมเสื้อ สวมหมวก ทรงผ้าโพก ประชาชนพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงจีวรสีครามล้วน ไม่พึง ทรงจีวรสีเหลืองล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีแดงล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีบานเย็นล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีดำ ล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีแสดล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีชมพูล้วน ไม่พึงทรงจีวรที่ไม่ตัดชาย ไม่พึงทรง จีวรมีชายยาว ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็นแผ่น ไม่พึงสวมเสื้อ ไม่พึงสวมหมวก ไม่พึงทรงผ้าโพก รูปใดทรง ต้องอาบัติทุกกฏ.เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๔๔๗๕-๔๕๒๓ หน้าที่ ๑๘๓-๑๘๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=4475&Z=4523&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=5&A=4475&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=46 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=168 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=5&A=4820 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=5083 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=5&A=4820 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=5083 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_5 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:28.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#BD.4.436
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]