ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
เรื่องพระฉันนะ
[๒๒๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืน อาบัติ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้ว จึงได้ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุฉันนะต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำ คืนอาบัติ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำ ของภิกษุโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษนั้น ต้องอาบัติแล้ว จึงไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ ภิกษุฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ฯ
วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
[๒๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติ พึงทำอย่างนี้ พึงโจทภิกษุฉันนะก่อน ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ พึงทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้าม สมโภคกับสงฆ์ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะคืนอาบัติ สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ คือ ห้าม สมโภคกับสงฆ์ การทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระ ฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ทำแล้วแก่พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง ความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต่อๆ ไปว่า พระ- *ฉันนะอันสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว คือ ห้ามสมโภค กับสงฆ์ ฯ
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๒
[๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ แล้วไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี ๑ ทำ เพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๓
[๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ แล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับ อาบัติแล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๔
[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ แล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๕
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ แล้วไม่ดี คือ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็น วรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๖
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี คือ ทำไม่ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๗
[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี คือ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๘
[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี คือ ทำเพราะมิใช่อาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์ เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๙
[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประ- *กอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๐
[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๑
[๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประ- *กอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้ว ไม่ดี คือ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็น วรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
หมวดที่ ๑๒
[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี ฯ
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ
-----------------------------------------------------
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบ ด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๒
[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประ- *กอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยังมิ- *ได้แสดง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๓
[๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๔
[๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๕
[๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประ- *กอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๖
[๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๗
[๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประ- *กอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๘
[๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประ- *กอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๙
[๒๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประ- *ด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะอาบัติที่ยังมิได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๐
[๒๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประ- *กอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๑
[๒๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
หมวดที่ ๑๒
[๒๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประ- *กอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับ- *อาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ประกอบด้วย องค์ ๓ นี้แล เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว ฯ
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๒๕๑๘-๒๗๒๓ หน้าที่ ๑๐๘-๑๑๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=2518&Z=2723&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=6&A=2518&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=11              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=-225              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=6&A=1868              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=6&A=1868              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali#pli-tv-kd11:31.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#Kd.11.31.1

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]