สมุจจยขันธกะ
เรื่องพระอุทายี
[๓๗๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายี
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ท่านแจ้งแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ผมต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ
ผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้มานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้แก่ภิกษุอุทายี ฯ
วิธีให้มานัต
[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้มานัตอย่างนี้
ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุ
ผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอมานัต ว่าดังนี้:-
คำขอมานัต
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้
ปิดบังไว้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
*เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้
ท่านเจ้าข้า แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้านั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติ
ตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้
ท่านเจ้าข้า แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้านั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ ฯ
[๓๗๙] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุต-
*ถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้มานัต
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติตัว-
*หนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอมานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์
ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี
นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติตัว
หนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอมานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์
สงฆ์ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี การให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัว
หนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวคำนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
*นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี
การให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้
นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
*เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุ
อุทายี การให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
*วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
สงฆ์อัพภาน
[๓๘๐] ท่านพระอุทายีนั้น ประพฤติมานัตแล้ว ได้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย
ว่า ท่านทั้งหลาย ผมต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบัง
ไว้ ผมนั้นได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
*สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ผมนั้น ผมนั้นประพฤติมานัตมาแล้ว ผมจะพึง
ปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงอัพภานภิกษุอุทายี ฯ
วิธีอัพภาน
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงอัพภานอย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้น
พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออัพภาน ว่าดังนี้:-
คำขออัพภาน
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้
ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
*วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ข้าพเจ้านั้น ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น
ประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้
ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
*วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้นประพฤติ
มานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์ แม้ครั้งที่สอง
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้
ปิดบังไว้ ข้าพเจ้านั้นได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ข้าพเจ้านั้น ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้านั้นประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์ แม้ครั้งที่สาม ฯ
[๓๘๒] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-
*จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาอัพภาน
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ
ตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอได้ขอมานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้
กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
*สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติ
มานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงอัพภานภิกษุอุทายี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ
ตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอได้ขอมานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้
กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
*สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติ
มานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์ สงฆ์อัพภานภิกษุอุทายี การอัพภาน
ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่
ได้ปิดบังไว้ เธอได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจต-
*นิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุอุทายี
ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์ สงฆ์อัพภานภิกษุ
อุทายี การอัพภานภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ เธอได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ แก่ภิกษุ
อุทายี ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์ สงฆ์
อัพภานภิกษุอุทายี การอัพภานภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุอุทายี อันสงฆ์อัพภานแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๔๔๙๗-๔๖๑๘ หน้าที่ ๑๙๓-๑๙๘.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=4497&Z=4618&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=6&A=4497&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=22
ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=377
พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=6&A=3244
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=6047
The Pali Tipitaka in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=6&A=3244
The Pali Atthakatha in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=6047
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖
http://84000.org/tipitaka/read/?index_6
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
https://suttacentral.net/pli-tv-kd13/en/brahmali
https://suttacentral.net/pli-tv-kd13/en/horner-brahmali
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
