ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
พหุธิติสูตรที่ ๑๐
[๖๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในชัฏป่าแห่งหนึ่ง ใน โกศลชนบท ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล โคใช้ ๑๔ ตัว ของพราหมณ์ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง หายไป ฯ [๖๖๘] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ภารทวาชโคตรเที่ยวแสวงหาโคใช้เหล่านั้น อยู่ เข้าไปถึงชัฏป่านั้น ครั้นแล้ว ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในชัฏป่านั้น ทรงคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ทรงดำรงพระสติเฉพาะพระพักตร์ ครั้นแล้ว เข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มี- *พระภาคว่า โคใช้ ๑๔ ตัว ของพระสมณะนี้ไม่มีแน่ แต่ของเราหายไป ได้ ๖๐ วันเข้าวันนี้ เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงเป็นผู้มี ความสุข งาทั้งหลายอันเลวมีใบหนึ่งและสองใบในไร่ ของ พระสมณะนี้ไม่มีเป็นแน่ เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึง เป็นผู้มีความสุข หนูทั้งหลายในฉางเปล่า ย่อมไม่รบกวนแก่ พระสมณะนี้ด้วยการยกหูหางขึ้นแล้วกระโดดโลดเต้นเป็นแน่ เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงเป็นผู้มีความสุข เครื่องลาด ของพระสมณะนี้ใช้ตั้งเจ็ดเดือนไม่ดาดาษแล้ว ด้วยสัตว์ ทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นเป็นแน่ เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึง เป็นผู้มีความสุข หญิงหม้าย บุตรธิดามีบุตรคนหนึ่งและ สองคนของพระสมณะนี้ย่อมไม่มีแน่ เพราะเหตุนั้น พระ- สมณะนี้จึงเป็นผู้มีความสุข แมลงวันมีตัวอันลาย ไต่ตอม บุคคลผู้หลับด้วยเท้า ย่อมไม่ไต่ตอมพระสมณะนี้เป็นแน่ เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงเป็นผู้มีความสุข ในเวลาใกล้ รุ่ง เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมไม่ทวงพระสมณะนี้ว่า ท่าน ทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้ ดังนี้เป็นแน่ เพราะ เหตุนั้น พระสมณะนี้จึงเป็นผู้มีความสุข ฯ [๖๖๙] พระผู้มีพระภาคได้ภาษิตพระคาถาตอบว่า ดูกรพราหมณ์ โคใช้ ๑๔ ตัวของเราไม่มีเลย แต่ของท่าน หายไปได้ ๖๐ วันเข้าวันนี้ ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข ดูกรพราหมณ์ งาทั้งหลายอันเลวมี ใบหนึ่งและสองใบในไร่ ของเราไม่มีเลย ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข ดูกรพราหมณ์ หนู ทั้งหลายในฉางเปล่า ย่อมไม่รบกวนเราเลย ด้วยการยกหูหาง ขึ้นแล้วกระโดดโลดเต้น ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เรา จึงเป็นผู้มีความสุข ดูกรพราหมณ์ เครื่องลาดของเราใช้ตั้ง เจ็ดเดือนไม่ดาดาษเลย ด้วยสัตว์ทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น ดูกร พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข ดูกรพราหมณ์ หญิงหม้าย บุตรธิดามีบุตรคนหนึ่งและสองคน ของเราไม่มี เลย ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข แมลงวันมีตัวอันลาย ไต่ตอมบุคคลผู้หลับด้วยเท้า ย่อมไม่ ไต่ตอมเราเลย ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้ มีความสุข ดูกรพราหมณ์ ในเวลาใกล้รุ่ง เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมไม่ทวงเราเลยว่า ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้ ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข ฯ [๖๗๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมี จักษุย่อมเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระสมณโคดมผู้เจริญ พระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนัก ของพระโคดมผู้เจริญ ฯ พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทแล้วในสำนักของ พระผู้มีพระภาค ก็ท่านพระภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่ง คุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ มีความต้องการ ด้วยปัญญาเครื่องรู้ยิ่งเองในปัจจุบัน นี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละท่านพระภารทวาชะได้ เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯ
จบ อรหันตวรรค ที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในวรรคนี้ ๑๐ สูตร คือ
ธนัญชานีสูตร ๑ อักโกสกสูตร ๑ อสุรินทกสูตร ๑ พิลังคิก สูตร ๑ อหิงสกสูตร ๑ ชฏาสูตร ๑ สุทธิกสูตร ๑ อัคคิก สูตร ๑ สุนทริกสูตร ๑ พหุธิติสูตร ๑ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๕๔๙๓-๕๕๖๐ หน้าที่ ๒๓๖-๒๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=5493&Z=5560&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=15&A=5493&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=196              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=667              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=15&A=4868              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5871              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=15&A=4868              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5871              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i626-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn7.10/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]