ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๗. ปัจจยสูตร
[๘๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ๑- ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะ ของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความ แก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ความ เคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชรา และมรณะดังพรรณนา มาฉะนี้ เรียกว่าชรามรณะ เพราะชาติเกิด ชรามรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจมั่นชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับชรามรณะ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ฯลฯ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูป เป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขาร ๓ ประการ เหล่านี้คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นคือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจมั่นชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับ สังขาร ฯ @๑. เหมือนข้อ ๔-๕ [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึงปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น อริยสาวก นี้เราเรียกว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มา ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแส แห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ
จบสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑๐๔๐-๑๐๗๔ หน้าที่ ๔๒-๔๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=1040&Z=1074&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=16&A=1040&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=23              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=88              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=16&A=1028              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1503              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=16&A=1028              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1503              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i064-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/sn12.27/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.27/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]