ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

หน้าที่ ๒๙๖.

สามัณฑกสังยุตต์
[๕๑๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้อุกก- *เจลนคร ในแคว้นวัชชี ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อ สามัณฑกะ เข้าไปหาท่านพระ- *สารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระสารีบุตร ว่า ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า นิพพานๆ ดังนี้ นิพพานเป็นไฉนหนอ ท่าน พระสารีบุตรตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า นิพพาน ฯ ป. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือเพื่อกระทำ นิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ป. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉนเพื่อกระทำ นิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อกระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ ป. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำนิพพานนั้นให้ แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯลฯ [๕๑๔] ดูกรท่านสารีบุตร อะไรหนอเป็นการยากที่จะกระทำได้ในธรรม วินัยนี้ ฯ สา. บรรพชา ผู้มีอายุ ฯ ป. ดูกรภิกษุผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไรอันบุคคลผู้บวชแล้วกระทำได้โดยยาก ฯ สา. ความยินดียิ่ง ผู้มีอายุ ฯ ป. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไรอันภิกษุผู้ยินดียิ่งแล้วกระทำได้โดยยาก ฯ สา. การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้มีอายุ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙๗.

ป. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว จะพึง เป็นพระอรหันต์ได้นานเพียงไร ฯ สา. ไม่นานนัก ผู้มีอายุ ฯ รวมพระสูตรในสังยุตต์นี้ เช่นเดียวกับสูตรก่อน ฯ
จบสามัณฑกสังยุตต์
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๘๑๖-๖๘๔๕ หน้าที่ ๒๙๖-๒๙๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=6816&Z=6845&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=18&A=6816&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=255              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=513              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=18&A=6518              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3296              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=18&A=6518              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3296              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i513-e.php# http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn39-016.html https://suttacentral.net/sn39.1-15/en/sujato https://suttacentral.net/sn39.16/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]