บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ขันธสูตร ว่าด้วยอริยสัจ ๔ [๑๖๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกข- *อริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. [๑๖๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน? ควรจะกล่าวได้ว่า อุปาทาน ขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทาน ขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ. [๑๖๘๐] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน? ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความ กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ. [๑๖๘๑] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน? ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่ง ตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ. [๑๖๘๒] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. [๑๖๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.จบ สูตรที่ ๓ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๐๑๒๒-๑๐๑๓๙ หน้าที่ ๔๒๒-๔๒๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=10122&Z=10139&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=10122&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=393 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1678 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=10394 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=10394 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn56.13/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.13/en/bodhi
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]