บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
อาคันตุกาคารสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เจริญ [๒๙๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้มาจากทิศบูรพาก็ดี จากทิศปัศจิมก็ดี จากทิศอุดรก็ดี จากทิศทักษิณก็ดี ย่อมพักอยู่ที่เรือนสำหรับรับแขก ถึงกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรก็ดี ที่มาแล้วก็ย่อมพักอยู่ที่เรือนสำหรับรับแขกนั้น แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควร กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน. [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน? คือ ธรรมที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณู- *ปาทานขันธ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง. [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นไฉน? คือ อวิชชา และภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง. [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน? คือ วิชชาและวิมุติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง. [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน? คือ สมถะและวิปัสสนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง. [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้ มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า จึงกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา อันยิ่ง ฯลฯ จึงเจริญธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อม เจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ จึงเจริญธรรมที่ควรให้เจริญด้วย ปัญญาอันยิ่ง.จบ สูตรที่ ๑๔ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๗๗๕-๑๘๐๐ หน้าที่ ๗๖-๗๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=1775&Z=1800&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=1775&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=60 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=290 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=1439 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4388 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=1439 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4388 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i264-e.php#sutta41 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn45/sn45.159.wlsh.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/maha/sn45-159.html https://suttacentral.net/sn45.159/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.159/en/bodhi
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]