บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
อุปกิเลสสูตร อุปกิเลสของทอง ๕ อย่าง [๔๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของทอง ๕ อย่างนี้ เป็นเครื่องทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี อุปกิเลส ๕ อย่างเป็นไฉน? [๔๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล็กเป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควร แก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี. [๔๖๙] โลหะ เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ [๔๗๐] ดีบุก เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ [๔๗๑] ตะกั่ว เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ [๔๗๒] เงิน เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี. [๔๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของทอง ๕ อย่างนี้แล เป็นเครื่องทำทองไม่ให้ อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี. [๔๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสของจิต ๕ อย่างนี้ เป็น เครื่องทำจิตไม่ให้นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดี เพื่อความสิ้นอาสวะ. อุปกิเลส ๕ อย่างเป็นไฉน? [๔๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะเป็นอุปกิเลสของจิต เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้ นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้น อาสวะ. [๔๗๖] พยาบาทเป็นอุปกิเลสของจิต เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่ การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ ฯลฯ [๔๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของจิต ๕ อย่างนี้แล เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้ นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้น อาสวะ. [๔๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง ผล คือ วิชชาและวิมุติ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? [๔๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็น อุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ ฯลฯ [๔๘๐] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ฯลฯ ย่อมเป็นไป เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ. [๔๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง ผล คือ วิชชาและวิมุติ.จบ สูตรที่ ๓ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๒๘๑๙-๒๘๕๕ หน้าที่ ๑๒๐-๑๒๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=2819&Z=2855&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=2819&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=106 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=467 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=2466 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4738 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=2466 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4738 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn46.33/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.33/en/bodhi https://suttacentral.net/sn46.34/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.34/en/bodhi
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]