บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
มัคคสูตร ว่าด้วยทางเป็นที่ไปอันเอก [๘๒๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งหนึ่ง เมื่อแรกตรัสรู้ เราอยู่ที่ควงไม้ อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลา เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความ ปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า:- [๘๒๑] ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความ โศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพาน ให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุพึงพิจารณาเห็นกายในกาย อยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ทางเป็นที่ไปอันเอกนี้ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่ง ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔. [๘๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ความปริวิตกในใจของ เราด้วยใจ จึงหายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏเบื้องหน้าเรา เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือ คู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมกระทำผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางเราแล้ว ได้กล่าวว่า:- [๘๒๓] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วง ความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำ- *นิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุพึงพิจารณาเห็นกายในกาย ... ในเวทนา ... ในจิต ... หรือในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔. [๘๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวดังนี้แล้ว ครั้นแล้ว ได้กล่าว นิคมคาถาต่อไปอีกว่า:- พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นความสิ้นชาติ และที่สุดแห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ทรงทราบทางเป็นที่ไปอันเอก ในกาลก่อนชนทั้งหลาย ข้ามโอฆะได้แล้วด้วยทางนี้ (ในอนาคต) จักข้ามด้วยหนทางนี้ (ในบัดนี้) ก็ข้ามอยู่ด้วยหนทางนี้.จบ สูตรที่ ๓ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๘๙๕-๔๙๒๕ หน้าที่ ๒๐๓-๒๐๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=4895&Z=4925&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=4895&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=173 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=820 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=4769 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=4769 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn47.43/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.43/en/bodhi
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]