ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ทุติยวรรคที่ ๒
สหัสสสูตร
การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา
[๑๒๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะบรรลุภาวะ แห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่าไหน? [๑๒๘๖] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่งมหา- *อภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? เรา ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้ กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อนึ่ง เราย่อมระลึกได้ตลอดพันกัลป์ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑
อิทธิสูตร
เจริญสติปัฏฐานแผลงฤทธิ์ได้
[๑๒๘๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียว เป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๒
ทิพโสตสูตร
ว่าด้วยเสียง ๒ ชนิด
[๑๒๘๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๓
เจโตปริจจสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้ใจผู้อื่น
[๑๒๘๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ ฯลฯ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๔
ฐานาฐานสูตร
ว่าด้วยการรู้ฐานะอฐานะ
[๑๒๙๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้ฐานะโดยความเป็นฐานะ และอฐานะ โดยความเป็นอฐานะ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๕
วิปากสูตร
ว่าด้วยการรู้วิบากของกรรม
[๑๒๙๑] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้วิบากของการกระทำกรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๖
สัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตร
ปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง
[๑๒๙๒] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้จักปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๗
นานาธาตุสูตร
ว่าด้วยการรู้ธาตุต่างๆ
[๑๒๙๓] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้ธาตุเป็นอเนกและโลกธาตุต่างๆ ตาม ความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๘
อธิมุตติสูตร
ว่าด้วยการรู้อธิมุติต่างๆ
[๑๒๙๔] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้อธิมุติอันเป็นต่างๆ กัน ของสัตว์ ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๙
อินทริยสูตร
ว่าด้วยการรู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์
[๑๒๙๕] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ อื่น ของบุคคลอื่น ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑๐
สังกิเลสสูตร
ว่าด้วยรู้ความเศร้าหมองความผ่องแผ้ว
[๑๒๙๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความ ออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑๑
วิชชาสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการระลึกชาติได้
[๑๒๙๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึก ได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทศ ด้วยประการฉะนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑๒
วิชชาสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการเห็นจุติและอุปบัติ
[๑๒๙๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ เพราะ ได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑๓
วิชชาสูตรที่ ๓
ว่าด้วยการทำอาสวะให้สิ้นไป
[๑๒๙๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะ ได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๑๔
จบ ทุติยวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สหัสสสูตร ๒. อิทธิสูตร ๓. ทิพโสตสูตร ๔. เจโตปริจจสูตร ๕. ฐานาฐานสูตร ๖. วิปากสูตร ๗. สัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตร ๘. นานาธาตุสูตร ๙. อธิมุตติสูตร ๑๐. อินทริยสูตร ๑๑. สังกิเลสสูตร ๑๒. วิชชาสูตรที่ ๑ ๑๓. วิชชาสูตรที่ ๒ ๑๔. วิชชาสูตรที่ ๓.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๗๔๕๘-๗๕๕๗ หน้าที่ ๓๑๑-๓๑๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=7458&Z=7557&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=7458&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=297              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1285              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=7529              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7461              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=7529              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7461              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn52.11/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.12/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.13/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.14/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.15/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.16/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.17/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.18/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.19/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.20/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.21/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.22/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.23/en/sujato https://suttacentral.net/sn52.24/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]