นาหันตเอกธัมมเปยยาลที่ ๘
กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑
กัลยาณมิตรเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๖๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่าง
หนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น
แล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘.
[๑๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ
สละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค
อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑
สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
สีลสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๖๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่าง
หนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น
แล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่งศีลเลย ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๒
ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑
ฉันทสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๖๘] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งฉันทะเลย ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๓
อัตตสัมปทาสูตรที่ ๑
อัตตสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๖๙] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งตนเลย ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๔
ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑
ทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๗๐] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิเลย ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๕
อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑
อัปปมาทสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๗๑] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาทเลย ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๖
โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑
โยนิโสมนสิการเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๗๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่าง
หนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.
[๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม
เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ใน
ใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๗
กัลยาณมิตตสูตรที่ ๒
กัลยาณมิตรเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๗๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่าง
หนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น
แล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มี
มิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค
อันประกอบด้วยองค์ ๘.
[๑๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอัน
กำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะ
เป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย
องค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘
สีลสัมปทาสูตรที่ ๒
สีลสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๗๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่าง
หนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น
แล้ว ย่อมถึงความบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่งศีลเลย ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๙
ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๒
ฉันทสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๗๗] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งฉันทะเลย ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๑๐
อัตตสัมปทาสูตรที่ ๒
อัตตสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๗๘] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งตนเลย ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๑๑
ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๒
ทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๗๙] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิเลย ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๑๒
อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๒
อัปปมาทสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๘๐] ... เหมือนความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาทเลย ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๑๓
โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒
โยนิโสมนสิการเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค
[๑๘๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่าง
หนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจ
โดยแยบคายเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึง
หวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘.
[๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม
เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่าง
ไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด
มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะ
เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึง
พร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อม
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๔
จบ นาหันตเอกธัมมเปยยาลที่ ๘
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้ คือ
๑. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ ๒. สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
๓. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑ ๔. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๑
๕. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑ ๖. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑
๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑ ๘. กัลยาณมิตตสูตรที่ ๒
๙. สีลสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๐. ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๒
๑๑. อัตตสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๒. ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๒
๑๓. อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๒ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๙๐๕-๑๐๑๙ หน้าที่ ๔๐-๔๔.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=905&Z=1019&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=905&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=44
ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=165
พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=794
The Pali Tipitaka in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=794
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://84000.org/tipitaka/read/?index_19
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i165-e.php#
https://suttacentral.net/sn45.77/en/sujato
https://suttacentral.net/sn45.77/en/bodhi
https://suttacentral.net/sn45.78-82/en/sujato
https://suttacentral.net/sn45.78-82/en/bodhi
https://suttacentral.net/sn45.83/en/sujato
https://suttacentral.net/sn45.83/en/bodhi
https://suttacentral.net/sn45.84/en/sujato
https://suttacentral.net/sn45.84/en/bodhi
https://suttacentral.net/sn45.85-89/en/sujato
https://suttacentral.net/sn45.85-89/en/bodhi
https://suttacentral.net/sn45.90/en/sujato
https://suttacentral.net/sn45.90/en/bodhi
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
