ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
นันทิยสูตร
อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท
[๑๕๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิล- *พัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่า นันทิยะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า [๑๖๐๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกใด ไม่มีโสตาปัตติยังคธรรม ๔ ประการ โดยประการทั้งปวง ในกาลทุกเมื่อ อริยสาวกนั้นหรือหนอที่พระองค์ตรัสเรียกว่า อยู่ด้วยความ ประมาท? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทิยะ อริยสาวกใด ไม่มีโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ เราเรียกอริยสาวกนั้นว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน อนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วย ความประมาท และอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยวิธีใด ท่านจงฟังวิธีนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าว นันทิยศากยะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า [๑๖๐๑] ดูกรนันทิยะ ก็อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างไร? อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... เป็นผู้จำแนกธรรม อริยสาวกนั้นพอใจแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่ หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นใน กลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีความทุกข์ ย่อมไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ ปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความประมาท อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ประกอบด้วยเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกนั้นพอใจแล้วด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้น เป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มี ปัสสัทธิ เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีความทุกข์ย่อมไม่มีสมาธิ เมื่อจิตไม่ เป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึง ความนับว่า อยู่ด้วยความประมาท ดูกรนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างนี้แล. [๑๖๐๒] ดูกรนันทิยะ ก็อริยสาวกผู้เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร? อริย- *สาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุ นี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อ เกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุขย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้ง หลายปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท อีกประการหนึ่ง อริย- *สาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วย ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยศีลที่ พระอริยเจ้าใคร่แล้ว พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุข ย่อม เป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ ด้วยความไม่ประมาท ดูกรนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบปุญญาภิสันทวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อภิสันทสูตรที่ ๑ ๒. อภิสันทสูตรที่ ๒ ๓. อภิสันทสูตรที่ ๓ ๔. เทวปทสูตรที่ ๑ ๕. เทวปทสูตรที่ ๒ ๖. สภาคตสูตร ๗. มหานามสูตร ๘. วัสสสูตร ๙. กาฬิโคธาสูตร ๑๐. นันทิยสูตร
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๙๔๖๕-๙๕๑๖ หน้าที่ ๓๙๔-๓๙๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=9465&Z=9516&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=9465&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=358              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1599              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=9748              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8085              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=9748              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8085              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn55/sn55.040.than.html https://suttacentral.net/sn55.40/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]