ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๑๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายฝากผ้าสังฆาฏิไว้แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่จาริกในชนบท. ผ้าสังฆาฏิเหล่านั้นถูกเก็บไว้นาน ก็ขึ้นราตกหนาว ภิกษุทั้งหลายจึงผึ่งผ้าสังฆาฏิเหล่านั้น. ท่านพระอานนท์เที่ยวตรวจดูเสนาสนะ ได้พบภิกษุเหล่านั้นกำลังผึ่งผ้าสังฆาฏิอยู่ ครั้น แล้วจึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ถามว่าจีวร ที่ขึ้นราเหล่านี้ของใคร? จึงภิกษุเหล่านั้นแจ้งความนั้นแก่ท่านพระอานนท์แล้ว. ท่านพระอานนท์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้ฝากผ้าสังฆาฏิ ไว้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่จาริกในชนบทเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุ ทั้งหลาย ฝากผ้าสังฆาฏิไว้แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่ จาริกในชนบท จริงหรือ? ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนภิกษุ โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ฝากผ้าสังฆาฏิไว้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก หลีกไปสู่จาริกในชนบทเล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความจำกัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อ ข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๑.๒. จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตร จีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วย ประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ.
พระอนุบัญญัติ
เรื่องภิกษุอาพาธ
[๑๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในพระนครโกสัมพี. พวกญาติส่งทูต ไปในสำนักภิกษุนั้นว่า นิมนต์ท่านมา พวกผมจักพยาบาล แม้ภิกษุทั้งหลายก็กล่าวอย่างนี้ว่า ไปเถิดท่าน พวกญาติจักพยาบาลท่าน. เธอตอบอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย ไว้ว่า ภิกษุไม่พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร ผมกำลังอาพาธ ไม่สามารถจะนำไตรจีวรไปด้วยได้ ผมจักไม่ไปละ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงอนุญาตให้สมมติติจีวราวิปวาส
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ เพื่อ ไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุผู้อาพาธ ก็แลสงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้:-
วิธีสมมติติจีวราวิปวาส
ภิกษุผู้อาพาธนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา กว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่สามารถจะนำ ไตรจีวรไปด้วยได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตร- *จีวรต่อสงฆ์ ดังนี้ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม. ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำ ไตรจีวรไปด้วยได้ เธอขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรต่อสงฆ์. ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร แก่ ภิกษุมีชื่อนี้ นี่เป็นวาจาประกาศให้สงฆ์ทราบ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถจะนำ ไตรจีวรไปด้วยได้ เธอขอสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรต่อสงฆ์. สงฆ์ให้ สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้สมมติเพื่อไม่เป็นการ การอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. การสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๑.๒. ก. จีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว กฐินเดาะเสียแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ปราศจาก ไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุอาพาธ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒] บทว่า จีวร ... สำเร็จแล้ว ความว่า จีวรของภิกษุทำสำเร็จแล้วก็ดี หายเสีย ก็ดี ฉิบหายเสียก็ดี ถูกไฟไหม้เสียก็ดี หมดหวังว่าจะได้ทำจีวรก็ดี. คำว่า กฐินเดาะเสียแล้ว คือ เดาะเสียแล้วด้วยมาติกาอันใดอันหนึ่ง ในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะเสียในระหว่าง. คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง ความว่า ถ้าภิกษุอยู่ ปราศจากผ้าสังฆาฏิก็ดี จากผ้าอุตราสงค์ก็ดี จากผ้าอันตรวาสกก็ดี แม้คืนเดียว. บทว่า เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ คือยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ. บทว่า เป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำจะสละ พร้อมกับเวลาอรุณขึ้น ต้องเสียสละ แก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-
วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เป็นของจำจะสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ สละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เป็นของจำจะสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้ง- *หลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
เสียสละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เป็นของจำจะสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่ เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
บทภาชนีย์
มาติกา
[๑๓] บ้าน มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง เรือน มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง โรงเก็บของ มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง ป้อม มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง เรือนยอดเดียว มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง ปราสาท มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง ทิมแถว มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง เรือ มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง หมู่เกวียน มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง ไร่นา มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง ลานนวดข้าว มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง สวน มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง วิหาร มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง โคนไม้ มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง ที่แจ้ง มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง
มาติกาวิภังค์
[๑๔] บ้าน ที่ชื่อว่า มีอุปจารเดียว คือเป็นบ้านของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม. ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในบ้าน ต้องอยู่ภายในบ้าน. เป็นบ้านไม่มีเครื่องล้อม. ภิกษุเก็บจีวรไว้ใน เรือนใด ต้องอยู่ในเรือนนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. ที่ชื่อว่า มีอุปจารต่าง คือเป็นบ้านของ ต่างสกุล และมีเครื่องล้อม. ภิกษุเก็บจีวรไว้ในเรือนใด ต้องอยู่ในเรือนนั้น หรือในห้องโถง หรือที่ริมประตูเรือน หรือไม่ละจากหัตถบาส. เมื่อจะไปสู่ห้องโถง ต้องเก็บจีวรไว้ในหัตถบาส แล้วอยู่ในห้องโถง หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. เก็บจีวรไว้ในห้องโถง ต้องอยู่ ในห้องโถง หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. เป็นบ้านไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ใน เรือนใด ต้องอยู่ในเรือนนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๑๕] เรือน ของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ ภิกษุเก็บ จีวรไว้ภายในเรือน ต้องอยู่ภายในเรือน. เป็นเรือนที่ไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. เรือนของต่างสกุล และมีเครื่องล้อม มีห้องเล็ก ห้องน้อยต่างๆ ภิกษุเก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจาก หัตถบาส. เป็นเรือนไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือไม่ละจาก หัตถบาส. [๑๖] โรงเก็บของ ของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในโรงเก็บของ ต้องอยู่ภายในโรงเก็บของ. เป็นโรงไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวร ไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. โรงเก็บของ ของต่างสกุล และมี เครื่องล้อม มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. เป็นโรงไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๑๗] ป้อม ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในป้อม ต้องอยู่ภายในป้อม. ป้อมของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๑๘] เรือนยอดเดียว ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเรือนยอดเดียว ต้อง อยู่ภายในเรือนยอดเดียว. เรือนยอดเดียวของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ใน ห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๑๙] ปราสาท ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในปราสาท ต้องอยู่ภายใน ปราสาท. ปราสาทของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ใน ห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๒๐] ทิมแถว ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในทิมแถว ต้องอยู่ภายใน ทิมแถว. ทิมแถวของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ในห้องใด ต้องอยู่ใน ห้องนั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๒๑] เรือ ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเรือ ต้องอยู่ภายในเรือ. เรือ ของต่างสกุล มีห้องเล็กห้องน้อยต่างๆ เก็บจีวรไว้ภายในห้องใด ต้องอยู่ในห้องนั้น หรือที่ ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๒๒] หมู่เกวียน ของสกุลเดียว ภิกษุเก็บจีวรไว้ในหมู่เกวียน ไม่พึงละอัพภันดร ด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านละ ๗ อัพภันดร ด้านข้างด้านละ ๑ อัพภันดร. หมู่เกวียนของ ต่างสกุล เก็บจีวรไว้ในหมู่เกวียน ไม่พึงละจากหัตถบาส. [๒๓] ไร่นา ของสกุลเดียวและมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเขตไร่นา ต้องอยู่ภายในเขตไร่นา เป็นไร่นาไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส. ไร่นาของต่างสกุลและ มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ภายในเขตไร่นา ต้องอยู่ภายในเขตไร่นา หรือที่ริมประตู หรือไม่ละ- *จากหัตถบาส. เป็นเขตไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส. [๒๔] ลานนวดข้าว ของสกุลเดียว และมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายใน เขตลานนวดข้าว ต้องอยู่ภายในเขตลานนวดข้าว. เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจาก- *หัตถบาส ลานนวดข้าวของต่างสกุลและมีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ภายในเขตลานนวดข้าว ต้อง อยู่ที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส. [๒๕] สวน ของสกุลเดียวและมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเขตสวน ต้องอยู่ภายในเขตสวน. เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส. สวนของต่างสกุล และมีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ภายในเขตสวน ต้องอยู่ที่ริมประตูสวน หรือไม่ละจากหัตถบาส. เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม ไม่พึงละจากหัตถบาส. [๒๖] วิหาร ของสกุลเดียวและมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเขตวิหาร ต้องอยู่ภายในเขตวิหาร. เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม เก็บจีวรไว้ในที่อยู่ใด ต้องอยู่ในที่อยู่นั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. วิหารของต่างสกุล และมีเครื่องล้อม ภิกษุเก็บจีวรไว้ในที่อยู่ใด ต้องอยู่ในที่อยู่นั้น หรือที่ริมประตู หรือไม่ละจากหัตถบาส. เป็นสถานไม่มีเครื่องล้อม เก็บ จีวรไว้ในที่อยู่ใด ต้องอยู่ในที่อยู่นั้น หรือไม่ละจากหัตถบาส. [๒๗] โคนไม้ ของสกุลเดียว กำหนดเอาเขตที่เงาแผ่ไปโดยรอบในเวลาเที่ยง ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเขตเงา ต้องอยู่ภายในเขตเงา. โคนไม้ของต่างสกุล ไม่พึงละจาก หัตถบาส. [๒๘] ที่แจ้ง ที่ชื่อว่า มีอุปจารเดียว มีอุปจารต่าง คือ ในป่าหาบ้านมิได้ กำหนด ๗ อัพภันดรโดยรอบ จัดเป็นอุปจารเดียว พ้นไปนั้น จัดเป็นอุปจารต่าง.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๒๙] จีวรอยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรอยู่ปราศ ภิกษุสงสัย เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรอยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ได้สละให้ไป ภิกษุสำคัญว่าสละให้ไปแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. จีวรยังไม่ถูกโจรชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็น นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
[๓๐] ภิกษุไม่สละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศ บริโภค ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๑] ในภายในอรุณ ภิกษุถอนเสีย ๑ ภิกษุสละให้ไป ๑ จีวรหาย ๑ จีวรฉิบหาย ๑ จีวรถูกไฟไหม้ ๑ โจรชิงเอาไป ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุได้รับสมมติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๕๖-๓๘๒ หน้าที่ ๘-๑๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=156&Z=382&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=2&A=156&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=2              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=10              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=2&A=109              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=3672              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=2&A=109              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=3672              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np2/en/brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]