ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อานันทวรรคที่ ๓
ฉันนสูตร
[๕๑๑] ๗๒. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหาร เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ฉันนปริพาชกได้ไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรท่านพระอานนท์ ท่านทั้งหลาย บัญญัติ การละราคะ บัญญัติการละโทสะ บัญญัติการละโมหะหรือ ท่านพระอานนท์ ตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราบัญญัติการละราคะ บัญญัติการละโทสะ บัญญัติ การละโมหะ ฯ ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ท่านทั้งหลายเห็นโทษในราคะอย่างไร จึงบัญญัติ การละราคะ เห็นโทษในโทสะอย่างไร จึงบัญญัติการละโทสะ เห็นโทษในโมหะ อย่างไร จึงบัญญัติการละโมหะ ฯ อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้กำหนัด ถูกความกำหนัดครอบงำ รัดรึง จิตไว้ ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไป ทางจิตบ้าง เพื่อละราคะได้แล้ว ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อ จะเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ไม่ เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต บุคคลผู้กำหนัด ถูกความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้ ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติ ทุจริตด้วยใจ เพื่อละราคะได้แล้ว ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย ไม่ประพฤติ ทุจริตด้วยวาจา ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ บุคคลผู้กำหนัด อันความกำหนัด ครอบงำ รัดรึงจิตไว้ ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสอง ฝ่ายตามความเป็นจริง เมื่อละราคะได้แล้ว ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความ เป็นจริง ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตน และผู้อื่นตามความเป็นจริง ความกำหนัดแล ทำให้เป็นคนมืด ทำให้เป็นคนไร้ จักษุ ทำให้ไม่รู้อะไร ทำปัญญาให้ดับ เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน บุคคลผู้ดุร้าย ฯลฯ บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ รัดรึงจิต ไว้ ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเพื่อ จะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทาง จิตบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อจะ เบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ไม่เสวย ทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ รัดรึงจิตไว้ ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริต ด้วยใจ เมื่อละโมหะได้แล้ว ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย ไม่ประพฤติทุจริต ด้วยวาจา ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำจิต รัดรึงจิตไว้ ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ซึ่ง ประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ตามความเป็นจริง เมื่อละโมหะได้แล้ว ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็น จริง ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและ ผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง ไม่หลงและทำให้เป็นคนมืด ทำให้เป็นคนไร้ จักษุ ทำให้ไม่รู้อะไร ทำปัญญาให้ดับ เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน ดูกรผู้มีอายุ เราเห็นโทษในราคะเช่นนี้แล จึงบัญญัติการละราคะ เห็นโทษในโทสะเช่นนี้ จึงบัญญัติการละโทสะ เห็นโทษในโมหะเช่นนี้แล จึงบัญญัติการละโมหะ ฯ ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้น มีหรือ ฯ อา. มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นมีอยู่ ฯ ฉ. ก็มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นเป็นไฉน ฯ อา. อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมา สมาธิ ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แล มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ นั้น ฯ ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ นั้นดี และสมควรเพื่อความไม่ประมาท ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๕๖๖๗-๕๗๒๑ หน้าที่ ๒๔๓-๒๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=5667&Z=5721&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=20&A=5667&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=116              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=511              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=20&A=5845              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5189              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=20&A=5845              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5189              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i511-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.071.than.html https://suttacentral.net/an3.71/en/sujato https://suttacentral.net/an3.71/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]