ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
สมุคคสูตร
[๕๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงกำหนดไว้ในใจ ซึ่งนิมิต ๓ ตลอดกาลตามกาล คือ พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิต ๑ พึง กำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิต ๑ พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิต ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่สมาธินิมิต โดยส่วนเดียวเท่านั้น พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุ ผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึง กำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตไม่ ตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะโดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบ อธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิตตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหนิมิตตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิตตลอดกาลตาม กาล เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่เสียหาย แน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่าง ทองหรือลูกมือช่างทองตระเตรียมเบ้าแล้วติดไฟ แล้วเอาคีมคีบทองใส่ลงที่ปากเบ้า แล้วสูบเสมอๆ เอาน้ำพรมเสมอๆ เพ่งดูเสมอๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าช่าง ทองหรือลูกมือช่างทอง พึงสูบทองนั้นแต่อย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ทองนั้น ไหม้ ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงเอาน้ำพรมแต่อย่างเดียว พึงเป็นเหตุ ให้ทองนั้นเย็น ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงเพ่งดูทองนั้นแต่อย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นสุกไม่ทั่วถึง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดช่างทองหรือลูกมือ ช่างทองสูบทองนั้นเสมอๆ เอาน้ำพรมเสมอๆ เพ่งดูเสมอๆ เมื่อนั้น ทองนั้น ย่อมเป็นของอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่แตกง่าย เข้าถึงเพื่อการ ทำโดยชอบ และช่างทองหรือลูกมือช่างทอง มุ่งประสงค์สำหรับเครื่องประดับ ชนิดใดๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู เครื่องประดับคอ หรือดอกไม้ทองก็ดี ย่อม สำเร็จสมความประสงค์ของเขาทั้งนั้น แม้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ ตลอดกาลตาม กาล คือ พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิต ๑ พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิต ๑ พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบ อธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่สมาธินิมิตโดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่อง ให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ใน ใจเฉพาะแต่ปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความ ฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่อุเบกขานิมิต โดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธิ นิมิตตลอดกาลตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิตตลอดกาลตามกาล กำหนด ไว้ในใจซึ่งอุเบกขานิมิตตลอดกาลตามกาล เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน ควรแก่การ งาน ผุดผ่อง และไม่เสียหาย ย่อมตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นอาสวะ และ ภิกษุนั้น ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองซึ่งธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองใดๆ เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อ เหตุมีอยู่เป็นอยู่ ถ้าภิกษุนั้นพึงหวังว่า เราพึงแสดงฤทธิ์หลายประการ ฯลฯ พึง ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอย่อมสมควรเป็นพยาน ในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ฯ
จบโลณผลวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัจจายิกสูตร ๒. วิวิตตสูตร ๓. สรทสูตร ๔. ปริสสูตร ๕. อาชานิยสูตรที่ ๑ ๖. อาชานิยสูตรที่ ๒ ๗. อาชานิยสูตรที่ ๓ ๘. นวสูตร ๙. โลณกสูตร ๑๐. สังฆสูตร ๑๑. สมุคคสูตร ฯ
ทุติยปัณณาสก์จบบริบูรณ์
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖๗๓๓-๖๗๘๓ หน้าที่ ๒๘๗-๒๘๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6733&Z=6783&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=20&A=6733&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=147              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=542              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=20&A=6958              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5932              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=20&A=6958              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5932              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i532-e.php#sutta11 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.100.11-15.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/03/an03-103.html https://suttacentral.net/an3.102/en/sujato https://suttacentral.net/an3.102/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]