ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
โยคสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กามโยคะ ๑ ภวโยคะ ๑ ทิฏฐิโยคะ ๑ อวิชชาโยคะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กามโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อ เขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง กามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะ กาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม และความทะยานอยากเพราะกาม ในกามทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่ากามโยคะ กามโยคะเป็นดังนี้ ก็ ภวโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อ เขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพ ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ ความกระหายเพราะภพ ความ เร่าร้อนเพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพ ในภพ ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าภวโยคะ กามโยคะ ภวโยคะเป็นดังนี้ ก็ทิฏฐิโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อ เขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิ ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะทิฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ ความกระหายเพราะทิฐิ ความ เร่าร้อนเพราะทิฐิ ความหยั่งลงเพราะทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ ในทิฐิ ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้ ก็อวิชชาโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความ เกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความ ไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าอวิชชาโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้ บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศล ธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความ กระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชราและมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น เรา จึงเรียกว่า ผู้ไม่เกษมจากโยคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการเหล่านี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ความพรากจากกามโยคะ ๑ ความพรากจากภวโยคะ ๑ ความ พรากจากทิฏฐิโยคะ ๑ ความพรากจากอวิชชาโยคะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความ พรากจากกามโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความ เป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัด ออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิด- *เพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม ความกระหาย เพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม ความทะยานอยากเพราะ กาม ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากกามโยคะเป็นดังนี้ ก็ความพรากจากภวโยคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความ เยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อน เพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพ ในภพทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ เป็นดังนี้ ก็ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะทิฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ ความ เยื่อใยเพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ ความกระหายเพราะทิฐิ ความเร่าร้อน เพราะทิฐิ ความหยั่งลงในทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ ในทิฐิทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากทิฏฐิโยคะ ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้ ก็ความพรากจาก อวิชชาโยคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง ความ ไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า ความพรากจากอวิชชาโยคะ ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ความพรากจากอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้ บุคคลผู้พรากจาก อกุศลธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความ กระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น เราจึง เรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการ นี้แล ฯ สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่ สงสาร ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะ โดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอก อวิชชาเสียได้ สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวง เป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบภัณฑคามวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อนุพุทธสูตร ๒. ปปติตสูตร ๓. ขตสูตรที่ ๑ ๔. ขตสูตรที่ ๒ ๕. อนุโสตสูตร ๖. อัปปสุตสูตร ๗. สังฆโสภณสูตร ๘. เวสารัชชสูตร ๙. ตัณหาสูตร ๑๐. โยคสูตร
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๒๒๑-๓๐๕ หน้าที่ ๑๐-๑๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=221&Z=305&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=21&A=221&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=10              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=10              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=21&A=249              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6658              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=21&A=249              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6658              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e.php#sutta10 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e2.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.010.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.010.niza.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/04/an04-010.html https://suttacentral.net/an4.10/en/sujato https://suttacentral.net/an4.10/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]