ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
นาคสูตร
[๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ประกอบด้วย องค์ ๔ ย่อมเป็นช้างควรแก่พระราชา เป็นช้างต้น ย่อมถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ องค์ ๔ เป็นไฉน คือ ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้ เป็นสัตว์ สำเหนียก ๑ กำจัดได้ ๑ อดทน ๑ ไปได้เร็ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้าง ตัวประเสริฐของพระราชาเป็นสัตว์สำเหนียกอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้าง ตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้ ย่อมเอาใจใส่มนสิการถึงเหตุการณ์ที่นาย- *ควาญช้างจะให้กระทำ ที่ตนเคยทำก็ตาม ไม่เคยทำก็ตาม ประมวลเหตุการณ์ ทั้งหมดไว้ด้วยใจ คอยเงี่ยโสตสดับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐ ของพระราชา เป็นสัตว์สำเหนียกอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์กำจัดได้ อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้ เข้าสู่สงคราม แล้ว ย่อมกำจัดช้างบ้าง พลช้างบ้าง ม้าบ้าง พลม้าบ้าง รถบ้าง พลรถบ้าง พลเดินเท้าบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชาเป็นสัตว์ กำจัดได้อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชาเป็นสัตว์อดทนอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว เป็นสัตว์อดทนต่อการประหารด้วยหอก ต่อการประหารด้วยดาบ ต่อการประหาร ด้วยหลาว ต่อเสียงระเบ็งเซ็งแซ่แห่งกลอง บัณเฑาะว์และสังข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชาเป็นสัตว์อดทนอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์ไปได้เร็ว อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชาในโลกนี้ นายควาญช้าง จะใช้ไปสู่ทิศใด ตนจะเคยไปหรือไม่เคยไปก็ตาม ย่อมเป็นสัตว์ไปสู่ทิศนั้น เร็วพลันทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์ ไปได้เร็วอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ประกอบ ด้วยองค์ ๔ นี้แล ย่อมเป็นสัตว์ควรแก่พระราชา เป็นช้างต้น ถึงการนับว่าเป็น ราชพาหนะ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ก็ฉันนั้น เหมือนกันแล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ สำเหนียก ๑ กำจัดได้ ๑ อดทน ๑ ไปได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ สำเหนียกอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จดจำ กระทำธรรมวินัยนี้อันพระตถาคต ประกาศแล้ว ทรงแสดงอยู่ ไว้ในใจ ประมวลธรรมวินัยทั้งปวงไว้ด้วยใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สำเหนียกอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้กำจัดได้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา ซึ่งกามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้ว กระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา ซึ่งพยาบาทวิตก อัน บังเกิดขึ้นแล้ว กระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อม บรรเทาซึ่งวิหิงสาวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้ว กระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา ซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศล อันบังเกิดขึ้นแล้ว กระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้กำจัดได้ อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย สัมผัสแห่ง เหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีปรกติอดทนต่อคำกล่าว อันหยาบคาย ร้ายกาจ ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ต่อทุกขเวทนาเป็นไปทางสรีระ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะนำชีวิตไปเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไปได้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทิศใด ที่ตนไม่เคยไป โดยกาลนานนี้ คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืน อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เป็นผู้ ไปสู่ทิศนั้นได้เร็ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไปได้อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของ ต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มี นาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๓๑๙๓-๓๒๔๙ หน้าที่ ๑๓๗-๑๓๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=3193&Z=3249&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=21&A=3193&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=113              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=114              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=21&A=3324              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8568              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=21&A=3324              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8568              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i111-e.php#sutta4 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i111-e2.php#sutta4 https://suttacentral.net/an4.114/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]