บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท ปัณฑิตวรรคที่ ๖ [๑๖] บุคคลพึงเห็นบุคคลใดผู้มักชี้โทษ เหมือนบุคคลผู้บอก ขุมทรัพย์ มักกล่าวข่มขี่ มีปัญญา พึงคบบุคคลผู้เป็นบัณฑิต เช่นนั้น เพราะว่าเมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณที่ประเสริฐ โทษที่ลามกย่อมไม่มี บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ ก็บุคคลนั้น ย่อมเป็น ที่รักของสัตบุรุษทั้งหลาย แต่ไม่เป็นที่รักของพวกอสัตบุรุษ บุคคลไม่ควรคบมิตรเลวทราม ไม่ควรคบบุรุษอาธรรม์ ควร คบมิตรดี ควรคบบุรุษสูงสุด บุคคลผู้อิ่มเอิบในธรรม มีใจผ่องใสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรม ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้วทุกเมื่อ ก็พวกคนไขน้ำย่อมไขน้ำ ไป พวกช่างศรย่อมดัดลูกศร พวกช่างถากย่อมถากไม้ บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกฝนตน ภูเขาหินล้วน เป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะลมฉันใด บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่หวั่น ไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น ห้วงน้ำลึก ใสไม่ขุ่นมัว แม้ฉันใด บัณฑิตทั้งหลายฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส ฉันนั้น สัตบุรุษทั้งหลายย่อมเว้นในธรรม ทั้งปวงโดยแท้ สัตบุรุษทั้งหลายหาใคร่กามบ่นไม่ บัณฑิต ทั้งหลายผู้อันสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่แสดงอาการ สูงๆ ต่ำๆ บัณฑิตย่อมไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่งตน ไม่ทำ บาปเพราะเหตุแห่งผู้อื่น ไม่พึงปรารถนาบุตร ไม่พึงปรารถนา ทรัพย์ ไม่พึงปรารถนาแว่นแคว้น ไม่พึงปรารถนาความ สำเร็จแก่ตนโดยไม่ชอบธรรม บัณฑิตนั้นพึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา ประกอบด้วยธรรม ในหมู่มนุษย์ ชนผู้ที่ถึงฝั่งมี น้อย ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้ย่อมเลาะไปตามฝั่งทั้งนั้น ก็ชน เหล่าใดแล ประพฤติตามธรรมในธรรมอันพระสุคตเจ้าตรัส แล้วโดยชอบ ชนเหล่านั้นข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้โดยยาก แล้ว จักถึงฝั่ง บัณฑิตออกจากอาลัยแล้ว อาศัยความไม่มีอาลัย ละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว บัณฑิตพึงปรารถนาความ ยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้โดยยาก ละกามทั้งหลายแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล พึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่อง เศร้าหมองจิต ชนเหล่าใดอบรมจิตด้วยดีโดยชอบ ในองค์แห่ง ธรรมสามัคคีเป็นเครื่องตรัสรู้ ชนเหล่าใดไม่ถือมั่น ยินดี แล้วในการสละคืนความถือมั่น ชนเหล่านั้นมีอาสวะสิ้นแล้ว มีความรุ่งเรืองปรินิพพานแล้วในโลก ฯจบปัณฑิตวรรคที่ ๖ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๔๗๙-๕๑๔ หน้าที่ ๒๑-๒๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=479&Z=514&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=25&A=479&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=15 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=16 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=463 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=21&A=1 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=25&A=463 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=21&A=1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i016-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i016-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.06.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.06.budd.html https://suttacentral.net/dhp76-89/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp76-89/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp76-89/en/sujato
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]