บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๐. เทวทัตตสูตร [๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตต์ผู้อันอสัทธรรม ๓ ประการ ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยา ไม่ได้อสัทธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตต์ผู้อันความ เป็นผู้มีความปรารถนาลามกครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ พระเทวทัตต์ผู้อันความเป็นผู้มีมิตรชั่วครอบงำย่ำยี จิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ ก็เมื่อ มรรคและผลที่ควรกระทำให้ยิ่งมีอยู่ พระเทวทัตต์ถึงความพินาศเสียในระหว่าง เพราะการบรรลุคุณวิเศษมีประมาณเล็กน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตต์ผู้ อันอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิด ในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ ฯ ใครๆ ผู้มีความปรารถนาลามก จงอย่าอุบัติในสัตว์โลก เลย คติของบุคคลผู้มีความปรารถนาลามกเช่นไร ท่าน ทั้งหลายจงรู้คติเช่นนั้นด้วยเหตุแม้นี้ เราได้สดับมาแล้วว่า พระเทวทัตต์โลกรู้กันว่า เป็นบัณฑิต ยกย่องกันว่า มี ตนอันอบรมแล้ว ดุจรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ ดำรงอยู่แล้ว พระเทวทัตต์นั้นประพฤติตามความประมาท เบียดเบียน พระตถาคตพระองค์นั้น ถึงอเวจีนรกอันมีประตู ๔ น่าพึงกลัว ก็ผู้ใดพึงประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายผู้ไม่กระทำกรรม อันลามก ผลอันลามกย่อมถูกต้องผู้นั้นแล ผู้มีจิตประทุษร้ายผู้ ไม่เอื้อเฟื้อ ผู้ใดพึงสำคัญเพื่อจะประทุษร้ายสมุทรด้วยหม้อ ยาพิษผู้นั้นพึงประทุษร้ายด้วยหม้อยาพิษนั้นไม่ได้ เพราะว่า สมุทรใหญ่มาก ผู้ใดย่อมเบียดเบียนพระตถาคตผู้ดำเนินไป โดยชอบมีจิตสงบระงับ ด้วยความประทุษร้ายอย่างนี้ ความ ประทุษร้ายย่อมไม่งอกงามในพระตถาคตพระองค์นั้น ภิกษุ ผู้ดำเนินไปตามทางของพระพุทธเจ้า หรือของพระสาวก ของพระพุทธเจ้าใด พึงถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ ภิกษุ เป็นบัณฑิต พึงกระทำพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกของพระ พุทธเจ้า ผู้เช่นนั้น ให้เป็นมิตร และพึงซ่องเสพพระพุทธ เจ้าหรือพระสาวกของพระพุทธเจ้านั้น ฯ เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯจบสูตรที่ ๑๐ จบวรรคที่ ๔ ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. วิตักกสูตร ๒. สักการสูตร ๓. สัททสูตร ๔. จวมาน สูตร ๕. โลกสูตร ๖. อสุภสูตร ๗. ธรรมสูตร ๘. อันธการ สูตร ๙. มลสูตร ๑๐. เทวทัตตสูตร ฯ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๒๒๗-๖๒๖๖ หน้าที่ ๒๗๔-๒๗๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=6227&Z=6266&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=25&A=6227&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=204 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=269 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=6132 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=6991 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=25&A=6132 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=6991 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.3.050-099.than.html#iti-089 https://suttacentral.net/iti89/en/ireland https://suttacentral.net/iti89/en/sujato
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]