ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ธนิยสูตรที่ ๒
นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า [๒๙๕] เรามีข้าวสำเร็จแล้ว มีน้ำนมรีด (จากแม่โค) รองไว้แล้ว มีการอยู่กับชนผู้เป็นบริวารผู้มีความประพฤติอนุกูลเสมอกัน ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี เรามุงบังกระท่อมแล้ว ก่อไฟไว้แล้ว แน่ะฝน หากว่าท่านย่อมปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า เราเป็นผู้ไม่โกรธ มีกิเลสดุจหลักตอปราศไปแล้ว เรามีการ อยู่สิ้นราตรีหนึ่งที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี กระท่อมมีหลังคาอัน เปิดแล้ว ไฟดับแล้ว แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญ ตกลงมาเถิด ฯ นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า เหลือบและยุงย่อมไม่มี โคทั้งหลายย่อมเที่ยวไปในประเทศ ใกล้แม่น้ำซึ่งมีหญ้างอกขึ้นแล้ว พึงอดทนแม้ซึ่งฝนที่ตกลงมา ได้ แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า ก็เราผูกแพไว้แล้ว ตกแต่งดีแล้ว กำจัดโอฆะ ข้ามถึงฝั่งแล้ว ความต้องการด้วยแพย่อมไม่มี แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนา ก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า ภริยาเชื่อฟังเรา ไม่โลเล เป็นที่พอใจ อยู่ร่วมกันสิ้น กาลนาน เราไม่ได้ยินความชั่วอะไรๆ ของภริยานั้น แน่ะฝน หากท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า จิตเชื่อฟังเรา หลุดพ้นแล้ว เราอบรมแล้ว ฝึกหัดดีแล้วสิ้น กาลนาน และความชั่วของเราย่อมไม่มี แน่ะฝน หากว่า ท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า เราเป็นผู้เลี้ยงตนด้วยอาหารและเครื่องนุ่งห่มและบุตรทั้งหลาย ของเราดำรงอยู่ดี ไม่มีโรค เราไม่ได้ยินความชั่วอะไรๆ ของ บุตรเหล่านั้น แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า เราไม่เป็นลูกจ้างของใครๆ เราเที่ยวไปด้วยความเป็น พระสัพพัญญูผู้ไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง เราไม่มี ความต้องการค่าจ้าง แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญ ตกลงมาเถิด ฯ นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า โคแก่ ลูกโคอ่อนที่ยังไม่ได้ฝึก แม่โคที่มีครรภ์ ลูกโคหนุ่ม แม่โคผู้ปรารถนาประเวณีมีอยู่ อนึ่ง แม้โคที่เป็นเจ้าฝูง แห่งโคก็มีอยู่ แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญตกลง มาเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า โคแก่ ลูกโคอ่อนที่ยังไม่ได้ฝึก แม่โคที่มีครรภ์ ลูกโคหนุ่ม แม่โคที่ปรารถนาประเวณีก็ไม่มี อนึ่ง แม้โคที่เป็นเจ้าฝูง แห่งโคก็ไม่มี แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญตก ลงมาเถิด ฯ นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า เสาเป็นที่ผูกโคเราฝังไว้แล้ว ไม่หวั่นไหว เชือกสำหรับผูก พิเศษประกอบด้วยปมและบ่วงเราทำไว้แล้ว สำเร็จด้วย หญ้ามุงกระต่ายเป็นของใหม่มีสัณฐานดีสำหรับผูกโคทั้งหลาย แม้โคหนุ่มๆ ก็ไม่อาจจะให้ขาดได้เลย แน่ะฝน หากว่า ท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า เราจักไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์อีก เหมือนโคตัดเชือก สำหรับผูกขาดแล้ว เหมือนช้างทำลายเถากระพังโหมได้แล้ว ฉะนั้น แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ฯ ฝนได้ตกเต็มทั้งที่ลุ่ม ทั้งที่ดอน ในขณะนั้นเอง นายธนิยะ คนเลี้ยงโคได้ยินเสียงฝนตกอยู่ ได้กราบทูลเนื้อความนี้ว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอ ที่ข้าพระองค์ได้เห็น พระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ ข้าพระองค์ขอถึง พระองค์ว่าเป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมหามุนี ขอ พระองค์ทรงเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ทั้งภริยาทั้ง ข้าพระองค์เป็นผู้เชื่อฟัง ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต ข้าพระองค์เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะจะเป็นผู้กระทำซึ่ง ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ มารผู้มีบาปได้กล่าวคาถาว่า คนย่อมเพลิดเพลินเพราะอุปธิทั้งหลาย เปรียบเหมือน บุคคลผู้มีบุตร ย่อมเพลิดเพลินเพราะบุตร บุคคลมีโค ย่อมเพลิดเพลินเพราะโค ฉะนั้น คนผู้ไม่มีอุปธิ ย่อมไม่ เพลิดเพลินเลย ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาตอบว่า คนย่อมเศร้าโศกเพราะอุปธิทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคล ผู้มีบุตร ย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร บุคคลผู้มีโค ย่อม เศร้าโศกเพราะโค ฉะนั้น คนผู้ไม่มีอุปธิ ย่อมไม่ เศร้าโศกเลย ฯ
จบธนิยสูตรที่ ๒

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๘๙๕-๖๙๗๐ หน้าที่ ๓๐๓-๓๐๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=6895&Z=6970&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=25&A=6895&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=229              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=295              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=6800              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=28&A=616              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=25&A=6800              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=28&A=616              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i294-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.1.02.than.html https://suttacentral.net/snp1.2/en/silacara https://suttacentral.net/snp1.2/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]