ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ปราภวสูตรที่ ๖
[๓๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามสิ้น ไปแล้ว เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีอันงดงามยิ่ง ทำพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า [๓๐๔] ข้าพระองค์มา เพื่อจะทูลถามถึงคนผู้เสื่อม และคนผู้เจริญ กะท่านพระโคดม จึงขอทูลถามว่าอะไรเป็นทางของคน เสื่อม ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ ผู้รู้ชั่วเป็นผู้เสื่อม ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ ผู้เกลียดธรรมเป็นผู้เสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัด ข้อนี้เถิดว่าความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๑ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๒ อะไรเป็นทางของคนเสื่อม ฯ คนมีอสัตบุรุษเป็นที่รัก ไม่กระทำสัตบุรุษให้เป็นที่รัก ชอบใจ ธรรมของอสัตบุรุษ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุ นั้นแล เราจงทราบข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๒ ฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๓ อะไรเป็นทางของคนเสื่อม ฯ คนใดชอบนอน ชอบคุย ไม่หมั่น เกียจคร้าน โกรธง่าย ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบ ชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๓ ฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๔ อะไรเป็นทางของคนเสื่อม ฯ คนใดสามารถ แต่ไม่เลี้ยงมารดาหรือบิดาผู้แก่เฒ่า ผ่านวัย หนุ่มสาวไปแล้ว ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุ นั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๔ ฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๕ อะไรเป็นทางของคนเสื่อม ฯ คนใดลวงสมณะพราหมณ์ หรือแม้วณิพกอื่นด้วยมุสาวาท ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบ ชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๕ ฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๖ อะไรเป็นทางของคนเสื่อม ฯ คนมีทรัพย์มาก มีเงินทองของกิน กินของอร่อยแต่ผู้เดียว ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบ ชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๖ ฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๗ อะไรเป็นทางของคนเสื่อม ฯ คนใดหยิ่งเพราะชาติ หยิ่งเพราะทรัพย์ และหยิ่งเพราะโคตร ย่อมดูหมิ่นญาติของตน ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะ เหตุนั้น เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๗ ฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๘ อะไรเป็นทางของคนเสื่อม ฯ คนใดเป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา และเป็นนักเลง การพนันผลาญทรัพย์ที่ตนหามาได้ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อม นั้นเป็นที่ ๘ ฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๙ อะไรเป็นทางของคนเสื่อม ฯ คนไม่สันโดษด้วยภริยาของตน ประทุษร้ายในภริยาของคนอื่น เหมือนประทุษร้ายในหญิงแพศยา ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อม นั้นเป็นที่ ๙ ฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๑๐ อะไรเป็นทางของคนเสื่อม ฯ ชายแก่ได้หญิงรุ่นสาวมาเป็นภริยา ย่อมนอนไม่หลับ เพราะ ความหึงหวงหญิงรุ่นสาวนั้น ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้น เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้น เป็นที่ ๑๐ ฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๑๑ อะไรเป็นทางของคนเสื่อม ฯ คนใดตั้งหญิงนักเลงสุรุ่ยสุร่าย หรือแม้ชาย เช่นนั้นไว้ในความ เป็นใหญ่ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้น เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๑๑ ฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๑๒ อะไรเป็นทางของคนเสื่อม ฯ ก็บุคคลผู้เกิดในสกุลกษัตริย์ มีโภคทรัพย์น้อย มีความมักใหญ่ ปรารถนาราชสมบัติ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม บัณฑิตผู้ถึง พร้อมด้วยความเห็นอันประเสริฐ พิจารณาเห็นคนเหล่านี้ เป็นผู้เสื่อมในโลก ท่านย่อมคบโลกที่เกษม (คนผู้เจริญ) ฯ
จบปราภวสูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๗๒๑๘-๗๒๙๑ หน้าที่ ๓๑๖-๓๑๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=7218&Z=7291&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=25&A=7218&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=233              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=303              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=7168              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=28&A=4071              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=25&A=7168              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=28&A=4071              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i294-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.1.06.piya.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.1.06.nara.html https://suttacentral.net/snp1.6/en/mills https://suttacentral.net/snp1.6/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]