ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๗. กัณฐกวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในกัณฐกวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า [๘๑] พระจันทร์ในวันเพ็ญ อันหมู่ดาวนักษัตรแวดล้อมแล้ว เป็นใหญ่กว่า หมู่ดาว มีรูปกระต่าย ย่อมหมุนเวียนไปโดยรอบฉันใด วิมานของท่าน นี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ยิ่งด้วยรัศมี อยู่ในเทพบุรี ดุจพระ- อาทิตย์อุทัยฉะนั้น พื้นวิมานของท่านน่ารื่นรมย์ใจ วิจิตรแล้วด้วยไพฑูรย์ ทองคำ แก้วผลึก รูปียะ มรกต มุกดา และแก้วทับทิม ลาดด้วยแก้ว ไพฑูรย์ ปราสาททั้งหลายของท่านงามน่ารื่นรมย์ ปราสาทของท่าน อันบุญกรรมเนรมิตดีแล้ว อนึ่ง สระโบกขรณีของท่าน เป็นสถานน่า รื่นรมย์กว้างขวาง อันหมู่ปลาเป็นอันมาก อาศัยแล้ว มีน้ำใสสะอาด พื้นลาดด้วยทรายทอง ดารดาษด้วยปทุมชาตินานา เป็นที่รวมอยู่แห่ง- บัวขาบ ครั้นลมรำเพยพัด กลิ่นหอมฟุ้งชื่นใจ ที่สองข้างแห่งสระโบก ขรณีของท่านนั้น มีพุ่มไม้อันบุญกรรมเนรมิตไว้ให้เป็นอย่างดี ประกอบ ด้วยหมู่ไม้ดอกและไม้ผล หมู่นางเทพอัปสรปกคลุมด้วยสรรพาภรณ์ ทัดทรงมาลาต่างๆ พากันมาบำรุง ท่านผู้มีฤทธิ์มาก ผู้นั่งบนบัลลังก์ เชิงทองคำ อ่อนนุ่ม อันบุญกรรมลาดแล้วด้วยผ้าโกเชาว์ ให้รื่นรมย์ใจ ดุจท้าววสวดีเทวราช ท่านสมบูรณ์ด้วยความยินดีในการฟ้อนรำ ขับร้อง และการประโคม รื่นเริงด้วยกลอง สังข์ ตะโพน พิณ และบัณเฑาะว์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์อันท่านประสงค์แล้ว น่ารื่นรมย์ใจ มีอยู่พร้อมในวิมานของท่าน ท่านมีรัศมีรุ่งเรืองยิ่งกว่า เทพบุตรผู้มีรัศมีรุ่งเรืองในวิมาน อันประเสริฐนั้น ดุจพระอาทิตย์อุทัย นี้เป็นผลแห่งทาน ศีลหรืออัญชลีกรรมของท่าน อาตมาถามแล้ว ขอจง บอกผลนั้น แก่อาตมา? เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญญาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเป็นพญาม้าชื่อ กัณฐกะ เป็นสหชาติของพระโอรส ของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นใหญ่ กว่าเจ้าศากยะทั้งหลายในกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระราชโอรสนั้น เสด็จออก มหาภิเนษกรมณ์ในมัชฌิมยามเพื่อความตรัสรู้ เอาฝ่าพระหัตถ์อันอ่อน เล็บแดงจางสุกใส ตบอกข้าพเจ้าเบาๆ แล้วตรัสกะข้าพเจ้าว่า จงพา ฉันไปเถิดสหาย ฉันได้บรรลุพระโพธิญาณอันอุดมแล้ว จักยังโลกให้ ข้ามพ้นจากห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร เมื่อข้าพเจ้าฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ได้ มีความร่าเริงยินดีเบิกบาน บันเทิงใจเป็นอันมาก ข้าพเจ้าจึงได้รับคำของ ท่านโดยความเคารพ ครั้นข้าพเจ้ารู้ว่า พระมหาบุรุษผู้เป็นพระโอรสแห่ง ศากยราชผู้เรืองยศ ประทับนั่งบนหลังของข้าพเจ้าแล้ว มีจิตเบิกบาน บันเทิงใจ นำพระมหาบุรุษออกไปจากพระนคร ไปจนถึงแว่นแคว้นของ กษัตริย์เหล่าอื่น เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระมหาบุรุษมิได้มีความอาลัย ละทิ้งข้าพเจ้ากับฉันนะอำมาตย์ไว้ ทรงหลีกไป ข้าพเจ้าได้เลียพระบาท ทั้ง ๒ ของพระองค์ ซึ่งมีเล็บอันแดง ด้วยลิ้น ร้องไห้ แลดูพระลูกเจ้า ผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่เสด็จไปอยู่ ข้าพเจ้าป่วยอย่างหนักเพราะมิได้เห็น พระมหาบุรุษศากโยรส ผู้มีศิริพระองค์นั้น ข้าพเจ้าได้ตายลงอย่างรวดเร็ว ด้วยอานุภาพแห่งปีติและโสมนัสนั้น ข้าพเจ้าจึงได้มาอยู่ยังวิมานนี้ อัน ประกอบด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ ดุจท้าวสักกเทวราชผู้เป็นใหญ่ในเทพบุรี ฉะนั้น ความยินดีและความร่าเริงได้เกิดมีแก่ข้าพเจ้า เพราะได้ฟังเสียง ว่า เพื่อพระโพธิญาณก่อนกว่าสิ่งอื่นๆ ฉันจักบรรลุความสิ้นไปแห่ง อาสวะ เพราะกุศลกรรมนั้นนั่นแล ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าพระคุณ เจ้าพึงไปในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ศาสดาไซร้ ขอพระคุณเจ้าจงทูลถึง การถวายบังคมด้วยเศียรเกล้ากะพระองค์ตามคำของข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้า ก็จักไปเฝ้าพระชินเจ้าผู้หาบุคคลอื่นเปรียบมิได้ การได้เห็นพระโลก- นาถเจ้าเช่นนั้น หาได้ยาก. พระสังคีติกาจารย์ได้รจนาคาถาไว้ ๒ คาถา ความว่า ก็กัณฐกเทพบุตรนั้น เป็นผู้กตัญญูกตเวที ได้เข้าเฝ้าพระศาสดาฟังพระ- ดำรัสของพระศาสดาผู้มีพระจักษุแล้ว ได้บรรลุธรรมจักษุกล่าวคือโสดา ปัตติผล ได้ชำระทิฏฐิและวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสของตนให้บริสุทธิ์ ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระศาสดา แล้วอันตรธานไปในที่นั้น นั่นเอง.
จบ กัณฐกวิมานที่ ๗.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๒๖๒๒-๒๖๗๘ หน้าที่ ๑๐๘-๑๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=2622&Z=2678&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=26&A=2622&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=81              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=81              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=26&A=2722              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=30&A=7732              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=26&A=2722              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=30&A=7732              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vv81/en/kiribathgoda

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]