บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
๕. กุญชรวิมาน ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในกุญชรวิมาน [๕] พระโมคคัลลานะถามว่า กุญชรเป็นยานอันประเสริฐของท่าน ประดับประดาด้วยแก้วหลายชนิด เป็นสัตว์น่ารัก มีกำลังว่องไวมาก เที่ยวไปในอากาศได้ มีสีเหมือนกับ หม้อใหม่ มีนัยน์ตากลมคล้ายใบบัว มีตัวประดับด้วยพวงดอกปทุมและ พวงอุบลทิพย์งามรุ่งเรือง มีกายอันโปรยปรายไปด้วยเกสรปทุม ประดับ ด้วยปทุมทอง ตามทางที่ช้างเดินไปและหยุดยืนอยู่ มีดอกบัวทองใหญ่ๆ คอยรับเท้าช้างทุกฝีเท้า และประดับด้วยดอกปทุมและดอกอุบลทอง เวลาเดินก็ค่อยๆ เดินไป ขณะเมื่อเดินไปมีเสียงกระดิ่งไพเราะ น่าเพลิด- เพลินใจ คล้ายกับดนตรีเครื่อง ๕ ฉะนั้น บนคอช้างนั้นมีผ้าอย่างสะอาด เป็นเครื่องลาด ท่านรุ่งเรืองกว่าหมู่เทพกัญญาในเชิงรูปร่าง การที่ท่านได้ ทิพยสมบัตินี้ ด้วยผลแห่งทาน ผลแห่งศีล หรือผลแห่งการกราบไหว้ (ชนิดไหน) อาตมาถามท่านแล้วขอได้โปรดตอบคำถามนั้นแก่อาตมาด้วย. นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานะถามแล้วมีใจยินดี ได้พยากรณ์ ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามว่า ดิฉันได้เห็นพระเถรเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ ผู้เพ่งฌาน ยินดีในฌาน เป็น ผู้สงบ ได้ถวายอาสนะที่ลาดด้วยผ้า โปรยดอกไม้ลงรอบๆ อาสนะ ดิฉันมีใจเลื่อมใส ได้ประดับพวงมาลัยปทุมมีใบติดลงครึ่งหนึ่ง และโรย เกสรปทุมลงครึ่งหนึ่ง ด้วยมือทั้งสองของตน ผลเช่นนี้เป็นผลแห่งกุศล กรรมนั้น เพราะดิฉันได้ทำสักการบูชาแก่ท่านผู้ประหารกิเลสทั้งปวงได้ ผู้มีกาย วาจา ใจ สงบระงับแล้ว ผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ อย่าง ท่านผู้ประเสริฐด้วยคุณทั้งหลายบูชากันมาแล้ว ดิฉันได้ถวายอาสนะด้วย น้ำใจอันผ่องใส เดี๋ยวนี้ดิฉันจึงรื่นเริงบันเทิงใจ เหมือนอย่างที่คนอื่นเขา รื่นเริงบันเทิงกัน เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านที่มุ่งประโยชน์ตน ประสงค์ ความสุขอันยิ่งใหญ่คือ เพื่อความเป็นผู้สิ้นอาสวขัยในชาติ อันเป็นอวสาน จึงควรถวายอาสนทาน.จบ กุญชรวิมานที่ ๕ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๙๑-๑๑๘ หน้าที่ ๔-๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=91&Z=118&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=26&A=91&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=5 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=5 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=26&A=103 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=30&A=695 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=26&A=103 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=30&A=695 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vv5/en/kiribathgoda
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]