บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
เถรีคาถา ทวาทสกนิบาต ว่าด้วยคาถาสุภาษิตในทวาทสกนิบาต อุบลวัณณาเถรีคาถา คาถาสุภาษิตของนางอุบลวัณณาเถรี [๔๖๕] เราทั้งสอง คือ มารดาและธิดา เป็นหญิงร่วมสามีกัน ความสลดใจขนพอง สยองเกล้ากันไม่เคยมี ได้บังเกิดแก่เรา น่าติเตียนนัก กามทั้งหลายเป็น ของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น มีหนามเป็นอันมาก เพราะเป็นที่ทำให้เรา ทั้งสอง คือ มารดาและธิดาร่วมสามีเดียวกันได้ เราเห็นโทษในกาม ทั้งหลาย เห็นการออกจากกามโดยความปลอดโปร่ง เราจึงออกบวชใน ธรรมวินัยในกรุงราชคฤห์ เราระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้ทิพยจักษุเจโตปริย- ญาณและโสตธาตุ เราชำระให้หมดจดแล้ว แม้ฤทธิ์เราก็ทำให้แจ้งแล้ว ความสิ้นอาสวะเราบรรลุแล้ว อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ในเวลาที่พระพุทธเจ้าจะทรงกระทำ ยมกปาฏิหาริย์ เราได้เนรมิตรถอันเทียมด้วยม้า ๔ ตัวด้วยฤทธิ์ เข้าไป ถวายบังคมพระบาทของพระพุทธเจ้าผู้มีศิริ เป็นที่พึ่งของสัตว์โลกแล้ว ได้ประดิษฐานอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. มารกล่าวว่า ท่านผู้เดียวเข้าไปอาศัยป่าไม้รัง อันมีดอกบานสะพรั่งตลอดยอด ยืนอยู่ ที่โคน ท่านไม่มีใครเป็นเพื่อนสอง ท่านไม่กลัวความพาลของนักเลง ทั้งหลายหรือ. พระอุบลวัณณาเถรีกล่าวว่า ถึงจะมีพวกนักเลงตั้งร้อยตั้งพันเช่นนี้ มาห้อมล้อม แม้เพียงขนของเรา ก็ไม่พึงหวั่นไหวสั่นสะเทือน ดูกรมาร ท่านผู้เดียวจักทำอะไรเราได้เล่า เรานั้นจักหายไป ณ บัดนี้ก็ได้หรือจะเข้าไปในท้องท่านก็ได้ จะยืนอยู่ใน ระหว่างคิ้วท่านก็ได้ ท่านจักไม่เห็นเรายืนอยู่ เราเป็นผู้ชำนาญในทางจิต อบรมอิทธิบาทดีแล้ว ได้กระทำให้แจ้งอภิญญา ๖ คำสั่งสอนของพระ- พุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว กามทั้งหลายเปรียบดังหอกและหลาว เป็น ของครอบงำขันธ์ทั้งหลายไว้ บัดนี้ความยินดีในกามที่ท่านพูดถึงนั้น ไม่มีแก่เรา เรากำจัดความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวงได้แล้ว ทำลายกอง แห่งความมืดแล้ว ดูกรมาร ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ถึงตัวท่านเราก็กำจัด เสียแล้ว.จบ ทวาทสกนิบาต. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๙๕๓๖-๙๕๖๘ หน้าที่ ๔๑๔-๔๑๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=9536&Z=9568&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=26&A=9536&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=465 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=465 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=26&A=9570 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=34&A=4990 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=26&A=9570 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=34&A=4990 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thig11.1/en/sujato
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]