บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
สุนทรีเถรีคาถา คาถาสุภาษิตของนางสุนทรีเถรี [๔๗๐] สุชาตพราหมณ์ผู้บิดา เมื่อจะถามถึงเหตุแห่งการบรรเทาความเศร้าโศก จึงกล่าว คาถาถามว่า ดูกรแม่สุนทรีผู้เจริญ เมื่อก่อนท่านเคี้ยวกินบุตรทั้งหลายที่ตายแล้วเป็น อันมาก ท่านเดือดร้อนอย่างยิ่งทั้งกลางวันและกลางคืน ดูกรนางพราหมณี ผู้เป็นเหล่ากอวาเสฏฐโคตร วันนี้ท่านได้เคี้ยวกินบุตรรวมทั้งหมด ๗ คน เพราะเหตุไรจึงไม่เดือดร้อนเล่า. พระสุนทรีเถรีกล่าวว่า ดูกรพราหมณ์ ในเวลาที่ล่วงมาแล้ว บุตรและหมู่ญาติของเราหลายร้อย อันเราและท่านได้กินแล้ว เรานั้นได้รู้นิพพานอันเป็นธรรมเครื่องสลัด ออกซึ่งชาติและมรณะ จึงไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ และไม่เดือดร้อน. พราหมณ์กล่าวว่า ดูกรนางวาสิฏฐี วาจาที่ท่านพูดนี้เป็นวาจาที่น่าอัศจรรย์หนอ ท่านรู้ธรรม ของใคร จึงกล่าววาจาเช่นนี้ได้? พระสุนทรีเถรีกล่าวว่า ดูกรพราหมณ์ พระสัมพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองมิถิลา ทรงแสดงธรรม แก่หมู่สัตว์เพื่อให้ละทุกข์ทั้งปวง ดูกรพราหมณ์ เราฟังธรรมอันหา อุปธิกิเลสมิได้ ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้วเป็น ผู้มีสัทธรรมอันรู้แจ้งแล้ว ณ ที่นั้น จึงบรรเทาความเศร้าโศกถึงบุตร เสียได้. แม้เราก็จักไปสู่เมืองมิถิลาบ้าง ถึงอย่างไร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ก็คงเปลื้องเราจากสรรพทุกข์ได้เป็นแน่ พราหมณ์ได้พบพระพุทธเจ้า ผู้หลุดพ้นแล้ว ไม่มีอุปธิกิเลส พระพุทธเจ้าเป็นมุนี ผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ทรงแสดงธรรม คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันเป็นทางดำเนินถึงความดับ- ทุกข์ พราหมณ์มีพระสัทธรรมอันรู้แจ้งแล้ว ณ สำนักพระพุทธเจ้านั้น พอใจการออกบวช พอบวชแล้วได้ ๓ ราตรี ก็ได้บรรลุวิชชา ๓ มานี่เถิด นายสารถี ไปเถิด เรามอบรถนี้ให้ท่าน ขอท่านจงบอกพราหมณีว่าเรา สบายดี แต่เดี๋ยวนี้พราหมณ์ได้บวชแล้วได้ ๓ ราตรี ก็ได้บรรลุวิชชา ๓ ลำดับนั้น นายสารถีได้พารถ และกหาปณะพันหนึ่งไปมอบให้นางพราหมณี และได้บอกนางพราหมณีว่า พราหมณ์สบายดีแต่เดี๋ยวนี้บวชเสียแล้ว พอบวชแล้วได้ ๓ ราตรี ก็บรรลุวิชชา ๓. นางพราหมณีกล่าวว่า ดูกรนายสารถี เราให้รถม้านี้กับกหาปณะพันหนึ่งและบาตรอันเต็มแล้ว แก่ท่าน เพราะได้ฟังว่าพราหมณ์ได้บรรลุวิชชา ๓. เมื่อนางพราหมณีให้รางวัลอย่างนี้ นายสารถีไม่รับ กลับกล่าวว่า ดูกรนางพราหมณี รถม้าและกหาปณะพันหนึ่ง ขอจงเป็นของท่านตามเดิม เถิด แม้ข้าพเจ้าก็จักออกบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญา อันประเสริฐ. ก็เมื่อนายสารถีออกบวชแล้ว นางพราหมณีเรียกนางสุนทรีธิดาของตนมาแล้ว ได้กล่าว คาถาใจความว่า ลูกสุนทรี บิดาของเจ้าละช้าง โค ม้า แก้วมณี แก้วกุณฑล และ เครื่องอุปกรณ์แห่งเรือนเป็นอันมากนี้ออกบวชแล้ว เจ้าจงบริโภคโภคะ เหล่านี้เถิด เพราะว่าเจ้าเป็นทายาทในสกุลนี้. นางสุนทรีฟังคำมารดาแล้ว เมื่อจะประกาศความตั้งใจในการออกบวชของตน จึงกล่าว คาถาความว่า บิดาของดิฉันถูกความเศร้าโศกถึงบุตรครอบงำจึงละช้าง โค ม้า แก้วมณี แก้วกุณฑล และเครื่องอุปกรณ์แห่งเรือนอันรื่นรมย์นี้แล้ว ออกบวช ดิฉันผู้ถูกความเศร้าโศกถึงพี่ชายครอบงำแล้ว จักออกบวชบ้าง. ลำดับนั้น มารดาเมื่อจะชักนำนางสุนทรีในทางเนกขัมมะจึงได้กล่าวคาถาความว่า ลูกสุนทรี ขอความดำริในการออกบวชของเจ้าจงสำเร็จตามที่เจ้าปรารถนา เถิด เจ้าจงบริโภคก้อนข้าวอันต้องยืนรับ จงมีการเที่ยวแสวงหา จงเป็น ผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลจีวรและจงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในโลกหน้า. นางสุนทรีกล่าวกับนางภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌายะว่า ข้าแต่แม่เจ้า ดิฉันศึกษาอยู่ ได้ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว รู้ระลึกถึง ขันธ์ที่เคยอยู่มาแล้วก่อนๆ ได้ ข้าแต่แม่เจ้าผู้มีคุณอันดีงาม เป็นผู้งาม ในหมู่พระเถรี วิชชา ๓ ดิฉันได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว เพราะอาศัยท่าน ข้าแต่ท่านแม่ ดิฉันปรารถนาจะ ไปยังนครสาวัตถี ขอท่านแม่จงอนุญาตให้ดิฉันไปเถิด ดิฉันจักบันลือ สีหนาทในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด. พระสุนทรีไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว เข้าไปยังพระวิหารได้เห็นพระศาสดาประทับนั่งอยู่ จึงกล่าวคาถาความว่า ดูกรแม่สุนทรี ท่านจงดูพระศาสดาผู้มีพระวรรณะดุจทองคำ มีพระ- ฉวีวรรณเหลืองดังทองคำ ทรงฝึกคนที่ผู้อื่นฝึกไม่ได้ ผู้ตรัสรู้ด้วย พระองค์เอง ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรนาง สุนทรีผู้หลุดพ้นแล้ว ไม่มีอุปธิกิเลส ปราศจากราคะ ผู้ไม่เกาะเกี่ยว ไม่มีอาสวะ เสร็จกิจแล้วมาเฝ้าอยู่ ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า นางสุนทรี สาวิกาของพระองค์ ออกจากพระนครพาราณสีมาสู่สำนักของพระองค์ แล้ว ถวายบังคมพระยุคลบาทอยู่ พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ เป็นพระศาสดา ของหม่อมฉัน ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพราหมณ์ หม่อม ฉันเป็นธิดาผู้ซึ่งเกิดแต่พระอุระ แต่พระโอฐของพระองค์ เป็นผู้ทำกิจ เสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนางสุนทรีผู้เจริญ การที่เธอมานี้ ชื่อว่าเป็นการมาดีแล้ว เธอมาแต่ ที่ไกลก็เหมือนมาใกล้ เพราะว่า ผู้ที่มีอินทรีย์อันฝึกแล้ว ปราศจากความ กำหนัด ไม่เกาะเกี่ยว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ย่อมมาไหว้เท้า ของพระศาสดาอย่างนี้.เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๙๗๘๒-๙๘๕๙ หน้าที่ ๔๒๔-๔๒๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=9782&Z=9859&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=26&A=9782&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=470 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=470 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=26&A=9821 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=34&A=6197 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=26&A=9821 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=34&A=6197 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thig13.4/en/sujato
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]