ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๓. มหาโพธิชาดก
ว่าด้วยปฏิปทาของผู้นำ
[๕๒] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงรีบร้อนถือเอาไม้เท้า หนังเสือ ร่ม รองเท้า ไม้ขอ บาตร และผ้าพาด ท่านปรารถนาจะไป ยังทิศไหนหนอ. [๕๓] ตลอด ๑๒ ปีที่อาตมภาพอยู่ในสำนักของมหาบพิตรนี้ อาตมภาพมิได้รู้ สึกถึงเสียงที่สุนัขเหลืองมันคำรามด้วยหูเลย ดูกรพระองค์ผู้เป็นใหญ่ เพราะมหาบพิตรพร้อมด้วยพระมเหสีปราศจากความเชื่อถือในเขา มาทรง เชื่อฟังอาตมภาพ มันจึงแยกเขี้ยวขาวเห่าอยู่ คล้ายกับว่าไม่เคยรู้จัก กัน ฉะนั้น. [๕๔] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ โทษที่ข้าพเจ้าทำแล้วนั้น จริงตามที่ท่านกล่าว ข้าพเจ้า นี้ย่อมเลื่อมใสยิ่งนัก ขอท่านจงอยู่เถิด อย่าเพิ่งไปเสียเลย ท่านพราหมณ์. [๕๕] เมื่อก่อนข้าวสุกขาวล้วน ภายหลังก็มีสิ่งอื่นเจือปน บัดนี้ แดงล้วน เวลานี้เป็นเวลาสมควรที่อาตมภาพจะหลีกไป อนึ่ง เมื่อก่อนอาสนะมี ในภายใน ต่อมามีในท่ามกลาง ต่อมามีข้างนอก ต่อมาก็จะถูกขับไล่ ออกจากพระราชนิเวศน์ อาตมภาพจะขอไปเสียเองละ บุคคลไม่ควร คบหาคนที่ปราศจากศรัทธา เหมือนบ่อที่ไม่มีน้ำ ฉะนั้น ถ้าแม้บุคคล จะพึงขุดบ่อน้ำนั้น บ่อนั้นก็จะมีน้ำที่มีกลิ่นโคลนตม บุคคลควรคบคน ที่เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นคนที่ไม่เลื่อมใส ควรเข้าไปนั่งใกล้คนที่ เลื่อมใส เหมือนคนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหาห้วงน้ำ ฉะนั้น ควรคบคนผู้ คบด้วย ไม่ควรคบคนผู้ไม่คบด้วย ผู้ใดไม่คบคนผู้คบด้วย ผู้นั้นชื่อ ว่ามีธรรมของอสัตบุรุษ ผู้ใดไม่คบคนผู้คบด้วย ไม่ซ่องเสพคนผู้ซ่อง เสพด้วย ผู้นั้นแล เป็นมนุษย์ชั่วช้าที่สุด เหมือนลิง ฉะนั้น มิตร ทั้งหลายย่อมแหนงหน่ายกันด้วยเหตุ ๓ ประการนี้ คือ ด้วยการคลุกคลี กันเกินไป ๑ ด้วยการไม่ไปมาหากัน ๑ ด้วยการขอในเวลาไม่สมควร ๑ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรไปมาหากันให้พร่ำเพรื่อนัก ไม่ควรเหิน ห่างไปให้เนิ่นนาน และควรขอสิ่งที่ควรขอตามเหตุกาลที่สมควร ด้วย อาการอย่างนี้ มิตรทั้งหลายจึงจะไม่แหนงหน่ายกัน คนที่รักกันย่อม ไม่เป็นที่รักกันได้เพราะการอยู่ร่วมกันนานเกินควร อาตมภาพมิได้เป็น ที่รักของมหาบพิตรมาก่อน เพราะฉะนั้น อาตมภาพจึงขอลาพระองค์ ไปก่อนละ. [๕๖] ถ้าพระคุณเจ้าไม่รับอัญชลี ของสัตว์ผู้เป็นบริวารมาอ้อนวอนอยู่อย่างนี้ ไม่กระทำตามคำขอร้องของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าวิงวอนพระคุณเจ้า ขอ พระคุณเจ้าโปรดกลับมาเยี่ยมอีก. [๕๗] ดูกรมหาบพิตรผู้ผดุงรัฐ ถ้าเมื่อเราทั้งหลายอยู่อย่างนี้ อันตรายจักไม่มี แม้ไฉนเราทั้งหลายพึงเห็นการล่วงไปแห่งวันและคืนของมหาบพิตรและ ของอาตมภาพ. [๕๘] ถ้าถ้อยคำของท่านเป็นไปตามคติที่ดีและตามสุภาพ สัตว์กระทำกรรมที่ไม่ ควรทำบ้าง ที่ควรทำบ้าง เพราะความไม่ใคร่ในกรรมที่สัตว์กระทำ สัตว์ อะไรในโลกนี้จะเปื้อนด้วยบาปเล่า ถ้าเนื้อความแห่งภาษิตของท่านนั้น เป็นอรรถเป็นธรรมและเป็นถ้อยคำงาม ไม่ชั่วช้า ถ้าถ้อยคำของท่านเป็น ความจริง ลิงก็เป็นอันเราฆ่าดีแล้ว ถ้าท่านรู้ความผิดแห่งวาทะของตน ก็จะไม่พึงติเตียนเราเลย เพราะว่าวาทะของท่านเป็นเช่นนั้น. [๕๙] ถ้าว่าพระเป็นเจ้าสร้างชีวิต สร้างฤทธิ์ สร้างความพินาศ สร้างกรรมดี และกรรมชั่ว ให้แก่โลกทั้งหมดไซร้ บุรุษผู้กระทำตามคำสั่งของพระ เป็นเจ้าก็ย่อมทำบาปได้ พระเป็นเจ้าย่อมเปื้อนด้วยบาปนั้นเอง ถ้า เนื้อความแห่งภาษิตของท่านเป็นอรรถเป็นธรรม ... เพราะว่าวาทะท่านเป็น เช่นนั้น. [๖๐] ถ้าสัตว์ย่อมเข้าถึงสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่กระทำไว้แล้วใน ปางก่อน กรรมเก่าที่กระทำไว้แล้ว เขาย่อมเปลื้องหนี้นั้นได้ ทางพ้นจาก หนี้เก่ามีอยู่ ใครเล่าในโลกนี้จะเปื้อนด้วยบาป ถ้าเนื้อความแห่งภาษิต ของท่าน เป็นอรรถเป็นธรรม ... เพราะว่าวาทะของท่านเป็นเช่นนั้น. [๖๑] รูปของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอยู่ได้เพราะอาศัยธาตุ ๔ เท่านั้น ก็รูปเกิด จากสิ่งใด ย่อมเข้าถึงในสิ่งนั้นอย่างเดิม ชีพย่อมเป็นอยู่ในโลกนี้เท่านั้น ละไปแล้วย่อมพินาศในโลกหน้า โลกนี้ขาดสูญ เมื่อโลกขาดสูญอยู่ อย่างนี้ ชนเหล่าใดทั้งที่เป็นพาลทั้งที่เป็นบัณฑิต ชนเหล่านั้นย่อม ขาดสูญทั้งหมด ใครเล่าในโลกนี้จะเปื้อนด้วยบาป ถ้าเนื้อความแห่ง ภาษิตของท่านเป็นอรรถเป็นธรรม ... เพราะว่าวาทะของท่านเป็นเช่นนั้น. [๖๒] อาจารย์ทั้งหลายผู้มีวาทะว่า การฆ่ามารดาบิดา เป็นกิจที่ควรทำ ได้ กล่าวไว้แล้วในโลก พวกคนพาลผู้สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต พึงฆ่ามารดา บิดา พึงฆ่าพี่ ฆ่าน้อง ฆ่าบุตร และภรรยา ถ้าประโยชน์เช่นนั้นพึงมี. [๖๓] บุคคลพึงนั่งหรือนอนที่ร่มไม้ใด ไม่ควรหักกิ่งไม้นั้น เพราะว่าผู้ประทุษ- ร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม ถ้าเมื่อมีความต้องการเกิดขึ้นก็ควรถอนไปแม้ ทั้งราก แม้ประโยชน์ที่จะมีต่อเรามาก วานรเป็นอันเราฆ่าดีแล้ว ถ้า เนื้อความแห่งภาษิตของท่านเป็นอรรถเป็นธรรม ... เพราะวาทะของท่าน เป็นเช่นนั้น. [๖๔] บุรุษผู้มีวาทะว่าหาเหตุมิได้ ๑ ผู้มีวาทะว่าพระเจ้าสร้างโลก ๑ ผู้มีวาทะ ว่าสุขและทุกข์เกิดเพราะกรรมที่ทำมาก่อน ๑ ผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ๑ คนที่มีวาทะว่าฆ่าบิดามารดาเป็นกิจที่ควรทำ ๑ ทั้ง ๕ คนนี้ เป็นอสัต- บุรุษ เป็นคนพาล แต่มีความสำคัญว่าตนเป็นบัณฑิตในโลก คนเช่นนั้น พึงกระทำบาปเองก็ได้ พึงชักชวนผู้อื่นให้กระทำก็ได้ ความคลุกคลีด้วย อสัตบุรุษมีทุกข์เป็นที่สุด มีผลเผ็ดร้อนเป็นกำไร. [๖๕] ในปางก่อน นกยางตัวหนึ่งมีรูปเหมือนแกะ พวกแกะไม่รังเกียจ เข้า ไปยังฝูงแกะ ฆ่าแกะทั้งตัวเมียตัวผู้ ครั้นฆ่าแล้ว ก็บินหนีไปด้วยอาการ อย่างใด สมณพราหมณ์บางพวกก็มีอาการเหมือนอย่างนั้น กระทำการ ปิดบังตัว เที่ยวหลอกลวงมนุษย์ บางพวกประพฤติไม่กินอาหาร บาง พวกนอนบนแผ่นดิน บางพวกทำกริยาขัดถูธุลีในตัว บางพวกตั้งความ เพียรเดินกระโหย่ง บางพวกงดกินอาหารชั่วคราว บางพวกไม่ดื่มน้ำ เป็นผู้มีอาจาระเลวทราม เที่ยวพูดอวดว่าเป็นพระอรหันต์ คนเหล่านี้ เป็นอสัตบุรุษ เป็นคนพาลแต่มีความสำคัญว่าตนเป็นบัณฑิต คนเช่นนั้น พึงกระทำบาปเองก็ได้ พึงชักชวนผู้อื่นให้กระทำก็ได้ ความคลุกคลีด้วย อสัตบุรุษมีทุกข์เป็นที่สุด มีผลเผ็ดร้อนเป็นกำไร พวกคนที่กล่าวว่าความ เพียรไม่มี และพวกที่กล่าวหาเหตุติเตียนการกระทำของผู้อื่นบ้าง กล่าว สรรเสริญการกระทำของตนบ้าง และพูดเปล่าๆ บ้าง คนเหล่านี้เป็น อสัตบุรุษ เป็นคนพาล แต่มีความสำคัญตนว่า เป็นบัณฑิต คนเช่นนั้น พึงกระทำบาปเองก็ได้ พึงชักชวนให้ผู้อื่นกระทำก็ได้ ความคลุกคลีด้วย อสัตบุรุษมีทุกข์เป็นที่สุด มีผลเผ็ดร้อนอันเป็นกำไร ก็ถ้าความเพียรไม่ พึงมี กรรมดีกรรมชั่วไม่มีไซร้ พระราชาก็จะไม่ทรงชุบเลี้ยงพวกช่างไม้ แม้นายช่างก็ไม่พึงกระทำยนต์ทั้งหลาย แต่เพราะความเพียรมีอยู่ กรรม ดีกรรมชั่วมีอยู่ ฉะนั้น นายช่างพึงกระทำยนต์ทั้งหลาย พระราชาก็ทรง ชุบเลี้ยงนายช่าง ถ้าฝนไม่ตก น้ำค้างไม่ตกตลอดร้อยปี โลกนี้ก็พึงขาด สูญ หมู่สัตว์ก็พึงพินาศ แต่เพราะฝนก็ตกและน้ำค้างก็ยังโปรยอยู่ ฉะนั้น ข้าวกล้าจึงสุกและเลี้ยงชาวเมืองให้ดำรงอยู่ได้นาน ถ้าเมื่อฝูงโค ข้ามฟากไปอยู่ โคผู้นำฝูงไปคด เมื่อมีโคผู้นำฝูงไปคด โคทั้งหมดนี้ก็ย่อม ไปคด ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ใดได้รับยกย่องว่าเป็น ผู้ประเสริฐสุด ถ้าผู้นั้นประพฤติไม่เป็นธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงประ- ชาชนนอกนี้ ชาวเมืองทั้งปวงย่อมอยู่เป็นทุกข์ ถ้าพระราชาไม่ทรงดำรง อยู่ในธรรม ถ้าเมื่อฝูงโคข้ามฟากไปอยู่ โคผู้นำฝูงไปตรง เมื่อมีโคผู้นำฝูง ไปตรง โคทั้งหมดนั้นก็ไปตรง ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ถ้าแม้ผู้นั้นประพฤติเป็นธรรม ไม่ จำต้องกล่าวถึงประชาชนนอกนี้ ชาวเมืองทั้งปวงย่อมอยู่เป็นสุข ถ้าพระ ราชาทรงดำรงอยู่ในธรรม เมื่อต้นไม้ใหญ่มีผล ผู้ใดเก็บผลดิบมา ผู้นั้น ย่อมไม่รู้รสแห่งผลไม้นั้น ทั้งพืชพันธุ์ แห่งต้นไม้นั้นก็ย่อมพินาศ รัฐ เปรียบด้วยต้นไม้ใหญ่ พระราชาใดทรงปกครองโดยไม่เป็นธรรม พระ- ราชานั้นย่อมไม่รู้จักรสแห่งรัฐนั้น และรัฐของพระราชานั้นก็ย่อม พินาศ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีผล ผู้ใดเก็บเอาผลสุกๆ มา ผู้นั้นย่อมรู้รส แห่งผลไม้นั้น และพืชพันธุ์แห่งต้นไม้นั้นก็ไม่พินาศ รัฐเปรียบด้วย ต้นไม้ใหญ่ พระราชาใดปกครองโดยธรรม พระราชานั้นย่อมทรงทราบ รสแห่งรัฐนั้น และรัฐของพระราชานั้นก็ไม่พินาศ อนึ่ง ขัตติยราช พระองค์ใด ทรงปกครองชนบทโดยไม่เป็นธรรม ขัตติยราชพระองค์นั้น ย่อมคลาดจากโอชะทั้งปวง อนึ่ง พระราชาพระองค์ใด ทรงเบียดเบียน ชาวนิคมผู้ประกอบการซื้อขาย กระทำการถวายโอชะและพลีกรรม พระราชาพระองค์นั้นย่อมคลาดจากส่วนพระราชทรัพย์ พระราชาพระองค์ ใด ทรงเบียดเบียนนายพรานผู้รู้เขตแห่งการประหารอย่างดี และเบียด เบียนทหารผู้กระทำความชอบในสงคราม เบียดเบียนอำมาตย์ผู้รุ่งเรือง พระราชาพระองค์นั้นย่อมคลาดจากพลนิกาย อนึ่ง กษัตริย์ผู้ไม่ประพฤติ ธรรม เบียดเบียนบรรพชิตผู้แสวงหาคุณ ผู้สำรวมประพฤติพรหมจรรย์ กษัตริย์พระองค์นั้นย่อมคลาดจากสวรรค์ อนึ่ง พระราชาผู้ไม่ดำรงอยู่ ในธรรม ฆ่าพระชายาผู้ไม่ประทุษร้าย ย่อมได้ประสบเหตุแห่งทุกข์ อย่างหนัก และย่อมผิดพลาดด้วยพระราชบุตรทั้งหลาย พระราชาพึง ประพฤติธรรมในชาวชนบท ชาวนิคม พลนิกาย ไม่พึงเบียดเบียน บรรพชิต พึงประพฤติสม่ำเสมอในพระโอรสและพระชายา พระราชาผู้ เป็นภูมิบดีเช่นนั้น เป็นผู้ปกครองบ้านเมือง ไม่ทรงพิโรธ ย่อมทรงทำ ให้ผู้อยู่ใกล้เคียงหวั่นไหว เหมือนพระอินทร์ผู้เป็นเจ้าแห่งอสูร ฉะนั้น.
จบ มหาโพธิชาดกที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมชาดกในปัญญาสนิบาตนั้นมี ๓ ชาดก คือ
๑. นฬินิกาชาดก ๒. อุมมาทันตีชาดก ๓. มหาโพธิชาดก สุภกถาพระชินเจ้าตรัสแล้ว เป็น ๓ ชาดก.
จบ ปัญญาสนิบาตชาดก.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ บรรทัดที่ ๓๒๑-๔๕๑ หน้าที่ ๑๓-๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=28&A=321&Z=451&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=28&A=321&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=28&siri=3              ศึกษาอรรถกถาชาดกได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=52              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=28&A=453              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=42&A=1064              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=28&A=453              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=42&A=1064              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_28              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja528/en/francis

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]