บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑ เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา [๑๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด เป็นผู้ องอาจ สามารถ กล่าวถ้อยคำมีหลักฐาน. ครั้นถึงฤดูหนาว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสะพักผ้า กัมพลมีค่ามาก เสด็จเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาถึงสำนัก ทรงอภิวาทภิกษุณีถุลลนันทาแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ภิกษุณีถุลลนันทาทูลชี้แจงธรรมีกถาถวาย ให้ท้าวเธอทรงเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง. ครั้นท้าวเธอทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาของภิกษุณี ถุลลนันทาแล้ว ได้ทรงปวารณาภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านได้โปรดบอกสิ่งที่ต้อง ประสงค์. ภิกษุณีถุลลนันทาทูลว่า ขอถวายพระพร ถ้ามหาบพิตรมีพระราชประสงค์จะพระราชทาน แก่อาตมภาพไซร้ ขอได้โปรดพระราชทานผ้ากัมพลผืนที่ทรงนี้. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงถวายผ้ากัมพลแก่ภิกษุณีถุลลนันทา ในทันใดนั้นแล แล้วเสด็จ ลุกจากที่ประทับ ทรงอภิวาทภิกษุณีถุลลนันทา กระทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็นคนมักมาก ไม่สัน- *โดษ ไฉนจึงได้ทูลขอผ้ากัมพลทรงต่อองค์พระราชาเล่า. ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ทูลขอผ้ากัมพลทรงต่อองค์พระ- *ราชาเล่า.ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา ทูลขอผ้ากัมพลทรงต่อองค์พระราชา จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ทูล ขอผ้ากัมพลทรงต่อองค์พระราชาเล่า การกระทำของนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๓๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีผู้จะให้เขาจ่ายผ้าห่มหนัก พึงให้จ่ายได้เพียงราคา ๔ กังสะ เป็นอย่างยิ่ง ถ้าให้จ่ายยิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ. สิกขาบทวิภังค์ [๑๓๙] ที่ชื่อว่า ผ้าห่มหนัก ได้แก่ผ้าชนิดหนึ่ง ที่สำหรับห่มในฤดูหนาว. บทว่า ผู้จะให้จ่าย คือ ผู้จะขอ. บทว่า พึงให้จ่ายได้เพียงราคา ๔ กังสะเป็นอย่างยิ่ง คือ ให้จ่ายผ้ามีราคาเพียง ๑๖ กหาปณะได้. คำว่า ถ้าให้จ่ายยิ่งกว่านั้น ความว่า ขอผ้ามีราคาเกินกว่านั้น เป็นทุกกฏในประโยค เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้ผ้ามา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือภิกษุณีรูปหนึ่ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลผ้าเป็นนิสสัคคีย์นั้น อันภิกษุณีพึงเสียสละอย่างนี้.วิธีเสียสละ เสียสละแก่สงฆ์ ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ... แม่เจ้า ผ้าห่มหนักผืนนี้ของข้าพเจ้ามีราคาสูงเกิน ๔ กังสะ ขอได้มา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าห่มหนักผืนนี้แก่สงฆ์ ... สงฆ์พึงให้ผ้าห่มหนักผืนนี้แก่ ภิกษุณีชื่อนี้ ดังนี้.เสียสละแก่คณะ ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ... แม่เจ้าทั้งหลาย พึงให้ผ้าห่มหนักผืนนี้แก่ภิกษุณี มีชื่อนี้ ดังนี้.เสียสละแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ... ข้าพเจ้าให้ผ้าห่มหนักผืนนี้แก่แม่เจ้า ดังนี้.บทภาชนีย์ ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์ [๑๔๐] ผ้าห่มหนักมีราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ขอได้มา เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ผ้าห่มหนักมีราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีสงสัย ขอได้มา เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ผ้าห่มหนักมีราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อน ขอได้มา เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.ทุกะทุกกฏ ผ้าห่มหนักมีราคาหย่อน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ. ผ้าห่มหนักมีราคาหย่อน ๔ กังสะ ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.ไม่ต้องอาบัติ ผ้าห่มหนักมีราคาหย่อน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อน ไม่ต้องอาบัติ.อนาปัตติวาร [๑๔๑] ขอผ้าห่มหนักมีราคา ๔ กังสะเป็นอย่างยิ่ง ๑ ขอผ้าห่มหนักมีราคาหย่อน ๔ กังสะ ๑ ขอต่อญาติ ๑ ขอต่อคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ ของตน ๑ ทายกประสงค์ให้จ่ายผ้าห่มหนักมีราคาแพง แต่ให้จ่ายผ้าห่มหนักมีราคาถูก ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๒๐๙๘-๒๑๖๖ หน้าที่ ๘๗-๘๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=2098&Z=2166&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=3&A=2098&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=26 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=138 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=3&A=1765 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11199 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=3&A=1765 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11199 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.138 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np11/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np11/en/horner
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]