ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๐๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพากันบวชสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ. ภิกษุณีทั้งหลายพากันกล่าวอย่างนี้ว่า มานี่ สิกขมานา เธอจงรู้สิ่งนี้ จงประเคนสิ่งนี้ จงนำสิ่งนี้มา ฉันต้องการสิ่งนี้ ท่านจงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ. เธอเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า พวกดิฉันไม่ใช่สิกขมานา พวกดิฉันเป็นภิกษุณี. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึง ได้บวชสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่ สงฆ์ยังมิได้สมมติเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีพากัน บวชสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ ยังมิได้สมมติ จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้บวชสามเณรี ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรง ทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่สามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีการให้สมมติการอุปสมบทนั้น สงฆ์พึงให้อย่างนี้:-
วิธีการให้สมมติอุปสมบท
อันสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้วนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่ง ประคอง อัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นสามเณรีของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๒๐ ปี ได้ศึกษาสิกขาใน ธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์. พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจา
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีชื่อนี้ผู้นี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๒๐ ปี ได้ ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์ ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติการอุปสมบทแก่สามเณรีชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว นี่เป็นญัตติ. แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีชื่อนี้ผู้นี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๒๐ ปี ได้ ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์สมมติ การอุปสมบทแก่สามเณรีชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว การให้สมมติการอุปสมบทแก่สามเณรีชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษา สิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด. สมมติการอุปสมบทอันสงฆ์ให้แล้วแก่สามเณรีชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษา สิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้วชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้น โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้วตรัส โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๒๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีผู้เป็นกุมารี มีอายุครบยี่สิบปี ผู้ได้ศึกษาสิกขา ในธรรม ๖ ประการ ตลอดสองฝนแล้วอันสงฆ์ยังมิได้สมมติ ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๔๑๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า มีอายุครบยี่สิบปี คือ มีอายุถึง ๒๐ ฝนแล้ว. ที่ชื่อว่า สตรีผู้เป็นกุมารี ได้แก่ สตรีที่เรียกกันว่าสามเณรี. บทว่า ตลอดสองฝน คือ ตลอด ๒ ปี. ที่ชื่อว่า ผู้ได้ศึกษาสิกขา คือ ผู้มีสิกขาในธรรม ๖ ประการอันได้ศึกษาแล้ว. ที่ชื่อว่า ยังมิได้สมมติ คือ สงฆ์ยังมิได้ให้สมมติการอุปสมบทด้วยญัตติทุติยกรรม. บทว่า ให้บวช คือให้อุปสมบท. ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๔๑๑] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์. กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์. กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ติกะทุกกฏ
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๔๑๒] บวชสามเณรีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีแล้ว อันสงฆ์สมมติแล้ว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๕๕๗๗-๕๖๕๖ หน้าที่ ๒๕๑-๒๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=5577&Z=5656&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=3&A=5577&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=101              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=409              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=3&A=4519              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=3&A=4519              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.409 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc73/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc73/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]