ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ปัญญาวรรค จริยากถา
[๗๑๕] จริยา ในคำว่า จริยา นี้ มี ๘ คือ อิริยาปถจริยา ๑ อายตนจริยา ๑ สติจริยา ๑ สมาธิจริยา ๑ ญาณจริยา ๑ มรรคจริยา ๑ ปัตติจริยา ๑ โลกัตถจริยา ๑ ฯ ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ ชื่อว่าอิริยาปถจริยา ความประพฤติใน อายตนะภายในและภายนอก ๖ ชื่อว่าอายตนจริยา ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่าสติจริยา ความประพฤติในฌาน ๔ ชื่อว่าสมาธิจริยา ความประพฤติใน อริยสัจ ๔ ชื่อว่าญาณจริยา ความประพฤติในอริยมรรค ๔ ชื่อว่ามรรคจริยา ความประพฤติในสามัญผล ๔ ชื่อว่าปัตติจริยา ความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะ ในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะใน พระปัจเจกพุทธเจ้า ความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะในพระสาวก ชื่อว่า โลกัตถจริยา อิริยาปถจริยาของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความปรารถนา อายตนจริยา ของท่านผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย สติจริยาของท่านผู้มีปรกติอยู่ด้วย ความไม่ประมาท สมาธิจริยาของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิต ญาณจริยาของท่านผู้ถึง พร้อมด้วยปัญญา มรรคจริยาของท่านผู้ปฏิบัติชอบปัตติจริยา ของท่านผู้บรรลุผลแล้ว และโลกัตถจริยา เป็นส่วนเฉพาะของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นส่วน เฉพาะของพระปัจเจกพุทธเจ้า และเป็นส่วนเฉพาะของพระสาวก จริยา ๘ เหล่านี้ ฯ [๗๑๖] จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อมประพฤติ ด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้ ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้ตั้งสติมั่น ย่อมประพฤติ ด้วยสติ ผู้ทำความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัด ย่อมประพฤติ ด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้ง ย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ผู้มนสิการว่า ท่านผู้ปฏิบัติ อย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณพิเศษได้ ก็ประพฤติด้วยวิเศษจริยา ผู้มนสิการว่ากุศล ธรรมของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมให้ต่อเนื่องกันไป ก็ประพฤติด้วยอายตนจริยา จริยา ๘ เหล่านี้ ฯ [๗๑๗] จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ การประพฤติด้วยทัสนะแห่ง สัมมาทิฐิ ๑ การประพฤติด้วยความดำริแห่งสัมมาสังกัปปะ ๑ การประพฤติด้วย ความกำหนดแห่งสัมมาวาจา ๑ การประพฤติด้วยสมุฏฐานแห่งสัมมากัมมันตะ ๑ การประพฤติด้วยความขาวผ่องแห่งสัมมาอาชีวะ ๑ การประพฤติด้วยความประคอง ไว้แห่งสัมมาวายามะ ๑ การประพฤติด้วยความตั้งสติมั่นแห่งสัมมาสติ ๑ การประพฤติด้วยความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ๑ จริยา ๘ เหล่านี้ ฉะนี้แล ฯ
จบจริยากถา
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๐๕๖๐-๑๐๕๙๒ หน้าที่ ๔๔๐-๔๔๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=10560&Z=10592&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=31&A=10560&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=84              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=715              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=12369              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=8129              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=12369              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=8129              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]