![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
![]() |
![]() |
[๒๓๓] ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่าง ๆ และเดช เป็นสัลเลขัฏฐญาณอย่างไร ฯ คำว่า หนา คือ ราคะหนา โทสะหนา โมหะหนา ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความ เจ้าเล่ห์ ความโอ้อวด หัวดื้อ ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความมัวเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง เป็นกิเลสหนา ฯ [๒๓๔] คำว่า สภาพต่าง ๆ และสภาพเดียว ความว่า กามฉันทะ เป็นสภาพต่าง เนกขัมมะเป็นสภาพเดียว พยาบาทเป็นสภาพต่าง ความไม่ พยาบาทเป็นสภาพเดียว ถีนมิทธะเป็นสภาพต่าง อาโลกสัญญาเป็นสภาพเดียว อุทธัจจะเป็นสภาพต่าง ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นสภาพเดียว วิจิกิจฉาเป็นสภาพต่าง การกำหนดธรรมเป็นสภาพเดียว อวิชชาเป็นสภาพต่าง ญาณเป็นสภาพเดียว อรติเป็นสภาพต่าง ความปราโมทย์เป็นสภาพเดียว นิวรณ์เป็นสภาพต่าง ปฐมฌานเป็นสภาพเดียว ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นสภาพต่าง อรหัตมรรคเป็น สภาพเดียว ฯ [๒๓๕] คำว่า เดช ความว่า เดชมี ๕ คือ จรณเดช คุณเดช ปัญญาเดช บุญญเดช ธรรมเดช บุคคลผู้มีจิตอันกล้าแข็ง ย่อมยังเดชคือความ เป็นผู้ทุศีลให้สิ้นไปด้วยเดชคือศีลเครื่องดำเนินไป ย่อมยังเดชมิใช่คุณให้สิ้นไป ด้วยเดชคือคุณ ย่อมยังเดชคือความเป็นผู้มีปัญญาทรามให้สิ้นไปด้วยเดชคือปัญญา ย่อมยังเดชมิใช่บุญให้สิ้นไปด้วยเดชคือบุญ ย่อมยังเดชมิใช่ธรรมให้สิ้นไปด้วย เดชอันเป็นธรรม ฯ [๒๓๖] คำว่า ธรรมเครื่องขัดเกลา ความว่า กามฉันทะมิใช่ธรรมเครื่อง ขัดเกลา เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา พยาบาทมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความไม่พยาบาทเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ถีนมิทธะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อาโลกสัญญาเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อุทธัจจะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความไม่ ฟุ้งซ่านเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา วิจิกิจฉามิใช่เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา การกำหนด ธรรมเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อวิชชามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ญาณเป็นธรรม เครื่องขัดเกลา อรติมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความปราโมทย์เป็นธรรมเครื่อง ขัดเกลา นิวรณ์มิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ปฐมฌานเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ฯลฯ กิเลสทั้งปวงมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อรหัตมรรคเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรม ซึ่งว่าปัญญาเพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะ เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่าง ๆ และเดช เป็นสัลเลขัฏฐญาณ ฯเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๒๕๖๔-๒๕๙๖ หน้าที่ ๑๐๕-๑๐๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=2564&Z=2596&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=31&A=2564&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=41 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=233 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=3001 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=7579 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=3001 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=7579 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]