บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
[๗๗] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรม ที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ฯ ธรรมอย่างหนึ่งควรทำให้แจ้ง คือ เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ธรรม ๒ ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑ ธรรม ๓ ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๓ ธรรม ๔ ควรทำให้แจ้ง คือ สามัญญผล ๔ ธรรม ๕ ควรทำให้แจ้ง คือ ธรรมขันธ์ ๕ ธรรม ๖ ควรทำให้แจ้ง คือ อภิญญา ๖ ธรรม ๗ ควรทำให้แจ้ง คือ กำลังของพระขีณาสพ ๗ ธรรม ๘ ควรทำให้แจ้ง คือ วิโมกข์ ๘ ธรรม ๙ ควรทำให้แจ้ง คือ อนุปุพพนิโรธ ๙ ธรรม ๑๐ ควรทำให้แจ้ง คือ อเสกขธรรม ๑๐ ฯ [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง คือ อะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้งทุกอย่าง หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำ ให้แจ้งทุกอย่าง ฯ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นรูป ย่อมทำให้แจ้งโดยทำให้เป็นอารมณ์ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา ... เมื่อพิจารณาเห็นสัญญา ... เมื่อพิจารณาเห็นสังขาร ... เมื่อพิจารณาเห็นวิญญาณ ... เมื่อพิจารณาเห็นจักษุ ... เมื่อพิจารณาเห็นชราและ มรณะ ... เมื่อพิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่สุด ย่อม ทำให้แจ้งโดยทำให้เป็นอารมณ์ ธรรมใดๆ เป็นธรรมอันทำให้แจ้งแล้ว ธรรม นั้นๆ ย่อมเป็นธรรมอันถูกต้องแล้ว ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถรู้ว่าชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่า สุตมยญาณ ฯ ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับ มาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นไปใน ส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนชำแรกกิเลส ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยกาม ของพระโยคาวจร ผู้ได้ปฐมฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรม สมควรแก่ปฐมฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญา และมนสิการอันไม่ประกอบด้วยวิตกเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่ง ความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการ อันประกอบด้วยวิตก ของพระโยคาวจร ผู้ได้ทุติยฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ทุติยฌานนั้น ยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการ อันประกอบด้วยอุเบกขาและสุข เป็นไปอยู่นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความ วิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการ อันประกอบด้วยปีติและสุข ของพระโยคาวจร ผู้ได้ตติยฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ ตติยฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและ มนสิการอันประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วน แห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วย วิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญา และมนสิการอันประกอบด้วยอุเบกขาและสุข ของพระโยคาวจรผู้ได้จตุตถฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรม สมควรแก่จตุตถฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญา และมนสิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไป ในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยรูป ของพระโยคาวจรผู้ได้อากาสานัญจายตน ฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็น ธรรมสมควรแก่อากาสานัญจายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วน แห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการ อันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม เป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วย อากาสานัญจายตนฌาน ของพระโยคาวจรผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควร แก่วิญญาณัญจายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ของพระโยคาวจรผู้ได้ อากิญจัญญายตนฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่อากิญจัญญายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรม เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยเนวสัญญานา สัญญายตนฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญา และมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำ ธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรม เหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความชำแรก กิเลส ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๗๒๑-๗๙๙ หน้าที่ ๓๐-๓๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=721&Z=799&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=31&A=721&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=9 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=77 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=973 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=3281 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=973 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=3281 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]