ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค วิราคกถา
[๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ฯ ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉา- *ทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามา ประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมี นิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่ เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือ ลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ สัมมา- *วาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้ง ขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อม คลายจากมิจฉาวายามะ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ จากกิเลสที่เป็น ไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะ เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประ ดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็น วิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความ เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุดและประเสริฐกว่า มรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรค จึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ [๕๘๙] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ [๕๙๐] ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา- *สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา- *สมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ [๕๙๑] ในขณะอรหัตมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา- *สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตาม มิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ใน วิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวง ที่เกิดเพราะสัมมาสมาธิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้นมรรค จึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึง นิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณ- *พราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่า มรรคทั้งหลาย ฯ [๕๙๒] สัมมาทิฐิเป็นวิราคะเพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นวิราคะ เพราะความดำริ สัมมาวาจาเป็นวิราคะเพราะความกำหนด สัมมากัมมันตะเป็น วิราคะเพราะความตั้งขึ้นไว้ชอบ สัมมาอาชีวะเป็นวิราคะเพราะชำระอาชีวะให้ ผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็นวิราคะเพราะประคองไว้ สัมมาสติเป็นวิราคะเพราะ ตั้งมั่น สัมมาสมาธิเป็นวิราคะเพราะไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะ ตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะเลือกเฟ้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็น วิราคะเพราะประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะแผ่ซ่านไป ปัสสัทธิ- *สัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความ ไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความพิจารณาหาทาง สัทธาพละ เป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา วิริยพละเป็นวิราคะ เพราะความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน สติพละเป็นวิราคะเพราะความไม่ หวั่นไหวไปในความประมาท สมาธิพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปใน อุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา สัทธินทรีย์ เป็นวิราคะ เพราะความน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความประคอง ไว้ สตินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความตั้งมั่น สมาธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความไม่ ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความเห็น อินทรีย์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่า เป็นใหญ่ พละเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะ อรรถว่านำออกไป มรรคเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นวิราคะ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้ อิทธิบาทเป็น วิราคะเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้ สมถะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพิจารณา เห็น สมถวิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่คู่กันเป็น วิราคะเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่า เห็น วิโมกข์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ วิชชาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่า แทงตลอด วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสละ ขยญาณเป็นวิราคะเพราะอรรถว่า ตัดขาด ฉันทะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นวิราคะเพราะอรรถว่า เป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นวิราคะเพราะ อรรถว่าเป็นที่ประชุมลง สมาธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็น วิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ยิ่งกว่า ธรรมนั้นๆวิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม สัมมาทิฐิเป็นมรรค เพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นมรรคเพราะความดำริ ฯลฯ นิพพานอัน หยั่งลงในอมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิราคะเป็นมรรคอย่างนี้ ฯ [๕๙๓] วิมุติเป็นผลอย่างไร ในขณะโสดาปัตติผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถ ว่าเห็น พ้นจากมิจฉาทิฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์และ จากสรรพนิมิตภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร เข้ามา ประชุมในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพาน เป็นอารมณ์ เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถ ว่าดำริ พ้นจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดพ้นจาก มิจฉาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งไว้ด้วยดี พ้นจากมิจฉากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีพให้ผ่องแผ้ว พ้นจากมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ พ้นจากมิจฉาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร ประชุม เข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ [๕๙๔] ในขณะสกทาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ [๕๙๕] ในขณะอนาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กาม ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิ เป็นต้นนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุติ จึงเป็นผล ฯ [๕๙๖] ในขณะอรหัตผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัยพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร ประชุมเข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ [๕๙๗] สัมมาทิฐิเป็นวิมุติเพราะความเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นวิมุติ เพราะความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติ เพราะความตั้งไว้มั่น ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะความพิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็นวิมุติ เพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ปัญญาพละเป็นวิมุติ เพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความเห็น อินทรีย์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นเครื่อง นำออก มรรคเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่า ตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเริ่งตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นวิมุติเพราะ อรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้ สมถะเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถวิปัสสนา เป็นวิมุติเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นวิมุติเพราะอรรถว่า ไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะ อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าพ้น วิชชาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถ ว่าสละ ญาณในความไม่เกิดขึ้นเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าระงับ ฉันทะเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการ เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็น วิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม สมาธิ เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญา เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็น สารธรรม นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิมุติเป็นผล อย่างนี้ วิราคะ เป็นมรรค วิมุติเป็นผล ด้วยประการฉะนี้ ฯ
จบวิราคกถา ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๘๖๙๒-๘๘๓๒ หน้าที่ ๓๖๐-๓๖๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=8692&Z=8832&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=31&A=8692&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=74              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=588              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=10016              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=5568              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=10016              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=5568              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]