ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ขทิรวนิยเรวตเถราปทานที่ ๑๑ (๙)
ว่าด้วยผลแห่งการจัดเรือนำข้ามฟาก
[๑๑] แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรสี เกิดแต่ประเทศหิมวันต์ เราเป็นนายเรืออยู่ที่ท่าอัน ขรุขระ ข้ามส่งคนจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ผู้นายกของโลก สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ กับพระขีณาสพหนึ่งแสน จัก ข้ามกระแสแม่น้ำคงคา เรานำเรือมารวมไว้เป็นอันมากแล้วนำประทุนเรือ ที่นายช่างตกแต่งเป็นอันดีไว้ต้อนรับพระนราสภ ก็สัมพุทธเจ้าเสด็จมา แล้วเสด็จขึ้นเรือ พระศาสดาประทับยืน ณ ท่ามกลางน้ำ (เมื่อเรือถึง กลางน้ำพระศาสดาประทับยืน) ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดข้ามส่ง พระสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น วิมานอันบุญกรรมทำไว้อย่างสวยงามมีสัณฐานดัง เรือ จักเกิดแก่ท่าน หลังคาดอกไม้จักกั้นอยู่บนอากาศทุกเมื่อ ในกัลปที่ ๕๔ ผู้นี้จักได้เป็นกษัตริย์พระนามว่าตารณะ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงครอบครองแผ่นดิน มีสมุทรสาครเป็นที่ลุด ในกัลปที่ ๕๗ จักได้เป็น กษัตริย์พระนามว่าจัมพกะ ทรงพระกำลังมาก จักรุ่งเรือง ดังพระอาทิตย์ อุทัย ฉะนั้น ในแสนกัลป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่ง สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราชจักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้เคลื่อนจาก ไตรทศแล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์ จักเป็นบุตรแห่งพราหมณ์ มีนาม ชื่อว่าเรวตะ อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักออกจากเรือนบวชในศาสนา ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม ภายหลังเขาบวชแล้ว จักประกอบ ความเพียร เจริญวิปัสสนากำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน เรามีความเพียรอันนำไปซึ่งธุระ อันนำมาซึ่งธรรมเป็นแดนเกษม จากโยคะ เราทรงกายอันมีในที่สุด ในศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เรา ทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล. ทราบว่า ท่านพระขทิรวนิยเรวตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ขทิรวนิยเรวตเถราปทาน.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๑๑๓๗-๑๑๖๔ หน้าที่ ๔๙-๕๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=1137&Z=1164&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=32&A=1137&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=11              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=11              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=32&A=1522              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=49&A=9152              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=32&A=1522              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=49&A=9152              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap11/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]